คุณประโยชน์และโทษของการให้ทาน GB 304 สูตรสำเร็จการพัฒนาองค์กรและเศรษฐกิจ หน้า 108
หน้าที่ 108 / 263

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงคุณประโยชน์ของการให้ทานที่มีอานิสงส์มากมาย เช่น การเพิ่มอายุ วรรณะ สุข และพละ สำหรับผู้ที่ให้ทานอย่างถูกต้อง ในขณะเดียวกันยังเน้นถึงโทษของการไม่ให้ทาน ซึ่งทำให้เกิดความตระหนี่และนำไปสู่ผลกรรมที่ไม่ดี รวมถึงการเกิดในสภาวะที่ยากจน และไม่ประสบความสำเร็จในชีวิต นอกจากนี้ยังเสนอวิธีการที่จะมีปัญญา ที่จะทำให้ชีวิตก้าวหน้าขึ้น โดยปัญญาเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เราค้นหาสิ่งที่เป็นประโยชน์ให้กับตนเองได้มากขึ้น

หัวข้อประเด็น

-อานิสงส์ของการให้ทาน
-โทษของการไม่ให้ทาน
-การมีปัญญา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

4) ต้องเห็นคุณประโยชน์ของการให้ทาน อานิสงส์ของการให้ทาน มีมากมาย สามารถกล่าวโดยย่อได้ดังนี้ ผู้ใดให้โภชนะโดยเคารพตามกาลอันควรแก่ท่านผู้สำรวมแล้ว ผู้บริโภคโภชนะที่ผู้อื่น ให้เป็นอยู่ ผู้นั้นชื่อว่าให้ฐานะ 4 คือ อายุ วรรณะ สุข พละ นรชนผู้มีปกติให้อายุ วรรณะ สุขะ พละ ย่อมเป็นผู้มีอายุยืน มีบริวารยศในทุกที่ที่ตนเกิด 5) ต้องเห็นโทษของการไม่ให้ทาน การไม่ให้ทาน เป็นนิสัยของคนตระหนี่ พระพุทธองค์ได้ตรัสถึงวิบากกรรมของผู้ที่มี ความตระหนี่กับเทวดาที่มาทูลถามปรากฏใน มัจฉริสูตร ว่า คนเหล่าใดในโลกนี้ เป็นคนตระหนี่เหนียวแน่น ดีแต่ว่าเขา ทำการกีดขวางคนอื่นผู้ให้ คนเหล่านั้นย่อมเข้าถึงนรก กำเนิดสัตว์เดรัจฉาน ถ้าถึงความเป็นมนุษย์ ก็เกิดในสกุลคนยากจน จะหาท่อนผ้า อาหาร ความร่าเริง ความสนุกสนานได้โดยยาก คนพาลเหล่านั้นต้องประสงค์ สิ่งใดจากผู้อื่น เขาย่อมไม่ได้สิ่งนั้นสมความปรารถนา นั่นเป็นผลในภพนี้ และภพหน้าก็ยังมี ทุคติเป็นที่ไปอีกด้วย การไม่ให้ทานมีผลน่ากลัวอย่างนี้ ชาวพุทธทราบอย่างนี้แล้ว ต้องขจัดความตระหนี่ ออกไปจากใจ หันมาทำความดี โดยการให้ทาน รักษาศีล และเจริญภาวนาให้มากยิ่งขึ้นไปด้วย 3.14 ทำอย่างไรจึง “มีปัญญา” การเป็นคนมีปัญญามีวิธีการดังนี้ 1) ความสำคัญของปัญญา ปัญญา คือ สิ่งที่ทำให้ตนเองและผู้อื่นพ้นจากภัยทั้งในปัจจุบัน และภัยในอนาคต ทั้งยังเป็นเหตุในการทำให้ชีวิตก้าวไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง การที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งจะมีความ ก้าวหน้าในชีวิตนอกจากต้องมีความอดทนแล้ว ต้องมีปัญญาเป็นส่วนประกอบด้วย เพราะการ มีปัญญานั้นจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เรามีช่องทางในการแสวงหาสิ่งที่เป็นประโยชน์ให้กับตัวเอง 1 โภชนสูตร, อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต, มก. เล่ม 35 หน้า 195. มัจฉริสูตร, สังยุตตนิกาย สตถวรรค, มก. เล่ม 24 หน้า 260. บทที่ 3 เศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ หลักการสร้างฐานะเพื่อความสุข... DOU 97
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More