ข้อความต้นฉบับในหน้า
9. อดทนต่อสิ่งที่มากระทบได้น้อย
10. ปัญญาที่มีอยู่แล้วย่อมเสื่อมไป
11. ไม่สามารถสร้างปัญญาให้เจริญงอกงามขึ้นได้
12. ไม่สามารถคุ้มครองตนให้พ้นจากความชั่วทั้งหลายได้
บุคคลใดก็ตามแม้ว่าจะมีปัญญาทางโลกมามากมายสักเพียงใด แต่ถ้าขาดปัญญา
ทางธรรม และการเจริญสมาธิภาวนาแล้ว ย่อมกลับไปตกต่ำได้ เพราะธรรมชาติของใจย่อม
ไหลไปตามอำนาจกิเลส หากไม่รู้จักฝึกฝนจิตอย่างดีแล้วก็จะไม่สามารถประคับประคองตนให้
รอดพ้นจากอำนาจกิเลสได้ ดังนั้น
ดังนั้นเราจึงควรหมั่นเจริญสมาธิภาวนาเพื่อพัฒนาปัญญาของตนให้
รุ่งเรืองยิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อสามารถกำจัดกิเลสในตัวได้หมด กระทั่งเป็นพระอรหันต์ นั่นจึงจะถือว่า
เป็นปัญญาที่สมบูรณ์
สรุป
การสร้างตัวสร้างฐานะทางเศรษฐกิจให้สำเร็จนั้น มี 2 ขั้นตอนที่ต้อ
ที่ต้องทำไปพร้อมกัน คือ
ขั้นตอนที่ 1 คือ สร้างตัวให้มีฆราวาสธรรม ได้แก่ สัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ เพื่อ
เพื่อเป็น
ต้นทุนในการสร้างฐานะทางเศรษฐกิจ เพราะสัจจะเป็นที่มาของความน่าเชื่อถือ ทมะเป็นที่มา
ของปัญญา ขันติเป็นที่มาของทรัพย์ และจาคะเป็นที่มาของการผูกมิตร ผู้มีคุณสมบัติ 4 ประการ
นี้ ย่อมสร้างฐานะทางเศรษฐกิจได้ในเวลาอันรวดเร็ว
ขั้นตอนที่ 2 คือ สร้างฐานะตามหลักเศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ โดยเราต้องทราบก่อน
ว่าที่มาของทรัพย์นั้นเกิดจากเหตุ 2 ประการ คือ ความขยันในปัจจุบัน และการส่งผลบุญที่ทำ
ไว้ดีแล้วในอดีต นั่นก็หมายความว่า ในขณะที่กำลังสร้างตัวสร้างฐานะทางเศรษฐกิจ (หา
ทรัพย์เป็น เก็บทรัพย์เป็น สร้างเครือข่ายเป็น และใช้ทรัพย์เป็น) ก็ต้องหมั่นทำบุญ (ศรัทธา ศีล
จาคะ ปัญญา) อย่างเต็มที่ด้วย โดยต้องทำอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ไม่ขาดแม้แต่วันเดียว
บทที่ 3 เศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ หลักการสร้างฐานะเพื่อความสุข... DOU 101