ข้อความต้นฉบับในหน้า
กรรณีในครั้งนั้น ได้มาเป็นพระอานนท์ในครั้งนี้ ส่วนพาราณสีเศรษฐี ได้มาเป็นเราตถาคต”
6.4.5 รวยทรัพย์
รวยทรัพย์ คือ รวยทรัพย์สมบัติ ได้แก่ แก้ว แหวน เงิน ทอง ข้าทาสบริวาร ต่างๆ ที่
ได้มาจากการประกอบการงานไม่มีโทษ จึงใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข และมีอริยทรัพย์ที่เป็น
หลักประกันชีวิตว่าจะสามารถเอาชนะอุปสรรคทั้งในโลกนี้และโลกหน้าได้ รวมทั้งเป็นเสบียงบุญ
ในการทำเป้าหมายชีวิตขั้นสูงสุดให้สำเร็จ คือ การบรรลุพระนิพพาน ในวันข้างหน้าอีกด้วย ดัง
ตัวอย่างของ พระอนุรุทธเถระ เป็นต้น
พระอนุรุทธเถระ ผู้ไม่รู้จักคำว่าไม่มี
ในอดีตกาล เทวกุฎมพี่เทวบุตรซึ่งเป็นอดีตชาติของพระอนุรุทธชาติหนึ่ง ได้จุติจาก
เทวโลกลงมาเกิดในตระกูลขัดสนตระกูลหนึ่ง ซึ่งอยู่ในกรุงพาราณสี โดยต้องมาเป็นคน
หาหญ้าให้แก่ท่านสุมนเศรษฐี (ชีวิตของมนุษย์ย่อมถูกกำหนดด้วยกฎเกณฑ์ที่มีมาตรฐานและ
เที่ยงตรงที่สุด คือ “กรรมลิขิต” ซึ่งสุดแท้แต่กรรมนั้นจะดีหรือชั่วเป็นเหตุบันดาล เพราะคนเรา
ผู้ยังมีกิเลส ย่อมจะสร้างสมไว้ทั้งกุศลกรรมและอกุศลกรรม และกรรมเหล่านั้น จะตามให้ผล
ไปทุกหนทุกแห่ง แล้วแต่กรรมอะไรจะได้ช่องให้ผลก่อน เพราะว่ากรรมเหมือนเงาของเราตามเรา
ไปทุกขณะเช่นกัน แต่บางครั้งก็มองเห็น บางคราวก็มองไม่เห็น)
เทวกุฎมพีผู้กลับมาเกิดเป็นคนขัดสน โดยได้รับการขนานนามว่า “อันนภาระ” ต้อง
รับภาระเกี่ยวหญ้าอยู่ในคฤหาสน์ของท่านสุมนเศรษฐีผู้มีน้ำใจเปี่ยมด้วยเมตตากรุณา บริจาค
ทานแก่คนกำพร้าคนอนาถา คนเดินทางไกลและคนขอทานทุกวันไป
วันหนึ่ง พระปัจจเจกพุทธเจ้าอุปริฏฐะ ตามปกติท่านพักอาศัยอยู่ที่ภูขาคันธมาทน์ เมื่อ
ท่านออกจากนิโรธสมาบัติ แล้วดำริว่า “วันนี้อาตมาจะไปอนุเคราะห์ใครจึงจะเหมาะสม”
ธรรมดาพระปัจจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ชอบอนุเคราะห์คนขัดสนยากจน เพราะฉะนั้น
พระปัจเจกพุทธเจ้าอุปริฏฐะ จึงคิดว่า “วันนี้ อาตมาจะอนุเคราะห์อันนภารบุรุษ”
และพอทราบว่า อันนภาระกลับมาจากป่าแล้ว ก็ครองจีวรคล้องบาตรเหาะจากภูเขา
คันธมาทน์ ไปยืนรอท่าอยู่ที่ประตูบ้านของอันนภาระนั้น
ฝ่ายอันนภาระกลับมาพบพระปัจเจกพุทธเจ้าอุปริฏฐยืนอยู่ที่ประตูบ้าน จึงกราบเรียน
บ ท ที่ 6 อานิสงส์ ข อ ง ก า ร ส ร้ า ง ตั ว ส ร้ า ง ฐานะ ตามพุทธวิธี DOU 239