การกำจัดล่วงละเมิดและการดูแลเจดียสถาน GB 304 สูตรสำเร็จการพัฒนาองค์กรและเศรษฐกิจ หน้า 134
หน้าที่ 134 / 263

สรุปเนื้อหา

การล่วงละเมิดถือเป็นภัยร้ายแรงต่อสังคม โดยเฉพาะต่อเด็กและสตรี ทำให้บิดามารดากังวลไม่มีความสงบสุข การรักษาเจดียสถานและผู้ทรงศีลถือเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างความสามัคคีและความอุ่นใจในชุมชน การไม่ดูแลจะส่งผลต่อความเคารพและศรัทธาในท้องถิ่นและทำให้ศูนย์รวมจิตใจหมดไป สิ่งเหล่านี้จึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมและมีมาตรการป้องกันเพื่อรักษาความสงบในสังคม.

หัวข้อประเด็น

- การกำจัดการล่วงละเมิด
- การดูแลเจดียสถาน
- ความสำคัญของพระอรหันต์
- ความสงบสุขในสังคม
- ความสามัคคีในชุมชน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ล่วงละเมิดต้องกำจัดปราบปรามให้หมดไป ต้องถือว่าเป็นภัยร้ายแรงต่อสังคม เพราะสตรีไม่ว่า เด็กสาวหรือเด็กหญิงย่อมเป็นที่ห่วงใยของบิดามารดา หากไม่มีความปลอดภัยหรือวางใจไม่ได้ เพราะไม่มีหลักประกันใดมาป้องกัน บิดามารดาย่อมห่วงกังวล นอนตาไม่หลับ ไม่มีความโล่งใจ ทำให้เดือดร้อนเป็นทุกข์ การให้ความสำคัญข้อนี้และดำเนินการอย่างเคร่งครัดย่อมทำให้ ครอบครัวอยู่เย็นเป็นสุข หมดความห่วงกังวล หมดความระแวงภัยไปโดยปริยาย (6) สักการะเคารพ นับถือ บูชาเจดียสถานของชาติ ไม่ลบล้างพลีกรรมอันชอบธรรม อันเคยให้ เคยทำแก่เจดียสถานเหล่านั้น ข้อนี้หมายความว่าในท้องถิ่นแต่ละท้องถิ่นในประเทศนั้นย่อมจะมีสิ่งที่เคารพนับถือ ที่เรียกในที่นี้ว่าเจดียสถาน เช่นเจดีย์ ปูชนียสถาน ปูชนียวัตถุประจำอยู่ เล็กบ้างใหญ่บ้าง สำคัญน้อยบ้างสำคัญมากบ้าง สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่บรรพบุรุษสร้างไว้สำหรับเป็นที่เคารพบูชาบ้าง เป็นศูนย์รวมจิตใจบ้าง เป็นอนุสรณ์สถานเพื่อระลึกถึงผู้มีพระคุณต่อท้องถิ่น หรือของชาติ บ้านเมืองบ้าง ผู้คนในท้องถิ่นได้เคารพสักการะด้วยศรัทธากันมา สร้างความเป็นปึกแผ่น ความสามัคคีให้เกิดแก่ท้องถิ่นมา จำต้องดูแลรักษาและปฏิบัติต่อเจดียสถานเหล่านั้น ด้วยความเคารพ ไม่เพิกเฉยละเลยหรือปล่อยให้รกร้างไปเสีย เพราะเมื่อขาดการดูแลเอาใจใส่ ศูนย์รวมจิตใจก็จะหมดไป กิจกรรมที่มีต่อสถานที่เหล่านั้นก็จะหมดไป ความรัก ความสามัคคี ความเห็นอกเห็นใจกันซึ่งเคยมีมาโดยตลอดก็จะหมดไปด้วย (7) ให้ความอารักขา คุ้มครอง ปกป้องอันชอบธรรมแก่พระอรหันต์ทั้งหลาย และ ตั้งใจปรารถนาให้พระอรหันต์ที่ยังมิได้มาขอให้มาสู่แว่นแคว้น ที่มาแล้วก็ขอให้อยู่เป็นสุข ข้อนี้หมายความว่าพระอรหันต์ทั้งหลายได้แก่นักบวชผู้ทรงศีลทรงธรรม ผู้เป็นผู้นำ ทางจิตวิญญาณด้วยการแนะนำสั่งสอนในสิ่งที่ดีงามให้แก่ประชุมชนนั้น ควรได้รับการอารักขา ปกป้องคุ้มครองอย่างเป็นธรรม เพราะท่านเหล่านั้นเป็นผู้ไม่มีอาวุธ ไม่มีทางต่อสู้ป้องกัน ตนเอง เป็นที่พึ่งพิงทางใจและทางปัญญาในยามคับขัน ท้องถิ่นที่มีผู้ทรงศีลทรงธรรมอยู่ย่อม อบอุ่น เหมือนมีที่พึ่งอยู่ใกล้ตัว ท้องถิ่นใดไม่มีก็เหมือนขาดอะไรที่สำคัญไป ในทางปฏิบัติก็คือ ให้ความอารักขาคุ้มครองป้องกันศาสนสถาน พระสงฆ์ และนักบวชในศาสนาต่าง ๆ นั่นเอง นอกจากนั้นจะต้องไม่ข่มเหงรังแกให้เดือดร้อนด้วยถืออำนาจหรือด้วยโมหจริต เพราะเมื่อ ผู้ทรงศีลทรงธรรมยังถูกรังแกข่มเหง ก็ไม่ต้องคิดว่าผู้คนในท้องถิ่นนั้นจะพ้นจากการถูกรังแก และถูกเอารัดเอาเปรียบ อปริหานิยธรรมนี้ เป็นข้อปฏิบัติที่เป็นไปเพื่อความสมานสามัคคีกันทั้งด้านความ บทที่ 4 จั ก ร ธ ร ร ม ห ลั ก การพัฒนาตนเอง และฐานะทางเศรษฐกิจ... DOU 123
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More