ข้อความต้นฉบับในหน้า
นัยที่หนึ่ง เป็นการสั่งสมบุญกุศลให้กับตนเอง เพื่อเป็นหลักประกันว่าเกิดมาในภพ
ชาติหน้า จะไม่ต้องมาลำบากยากจนอีก
นัยที่สอง เป็นการพัฒนาจิตใจของตนให้สูงขึ้น เป็นการขจัดความตระหนี่ ความ
โลกออกไปจากจิตใจ ฝึกตนเองให้มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กับบุคคลต่าง ๆ ตามที่เขาจำเป็น
นัยที่สาม เป็นการให้ความช่วยเหลือกับบุคคลต่าง ๆ ที่กำลังสร้างตัวสร้างฐานะให้
สามารถสร้างตัวสร้างฐานะได้สำเร็จ
2) ต้องมีต้นแบบในการทำทาน
บุคคลต้นแบบที่ทำทานอย่างถูกวิธีที่ควรศึกษาและนำมาเป็นแบบอย่างในสมัยพุทธกาล
คือ ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี สำหรับ ฝ่ายชาย และ มหาอุบาสิกาวิสาขา สำหรับฝ่ายหญิง เพราะ
ทั้งสองท่านเป็นผู้ที่ได้รับการสรรเสริญจากพระพุทธองค์ว่าเป็นผู้เลิศในฝ่ายอุบาสกและอุบาสิกา
บุคคลทั้งสองท่าน สมควรที่ชาวพุทธควรที่จะนำมาเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต
เพราะแม้ในช่วงชีวิตจะมีอุปสรรคเกิดขึ้นอยู่บ้าง ก็ไม่เคยท้อถอยต่อการสร้างบุญบารมี และ
เสื่อมศรัทธาในพุทธศาสนาแม้แต่น้อย
3) ต้องรู้จักวิธีการให้ทานที่ได้บุญมาก
การทำทานให้ได้บุญมาก พระพุทธองค์ทรงให้วิธีการ เรียกว่า การให้ทานอย่าง
สัตบุรุษ' คือ
1. ให้ของสะอาด
2. ให้ของประณีต
3. ให้ตามกาล
4. ให้ของสมควร
5. เลือกให้
6. ให้ประจำ
7. กำลังให้จิตผ่องใส
8. ให้แล้วดีใจ
การให้ทานทั้ง 8 วิธีดังกล่าวผู้ทำย่อมประสบบุญมาก
สัปปุริสทานสูตร, อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต, มก. เล่ม 37 หน้า 488.
96 DOU สูตรสำเร็จ การพัฒนาองค์กร และเศรษฐกิจ