ข้อความต้นฉบับในหน้า
2) บุญเก่าที่สั่งสมไว้ดีแล้วในอดีตตามมาส่งผล
นั่นก็หมายความว่า ในขณะที่เรากำลังสร้างฐานะเศรษฐกิจอยู่นั้น เราก็ต้องหมั่น
สร้างบุญไม่ขาดนั่นเอง
1) ความขยันอย่างถูกดี - ถึงดี - พอดีในชาตินี้
คนเรานั้นไม่ว่าจะทำอะไรก็ตาม หากจะให้ทำดีแล้วได้ผลดีตอบแทนกลับมานั้น
ต้องทำดีให้เป็น และคนที่ทำดีเป็น ก็คือคนที่ทำดีได้ถูกดี ถึงดี และพอดี ยิ่งเป็นเรื่องการสร้าง
ฐานะทางเศรษฐกิจด้วยแล้ว ยิ่งต้องใส่ใจในความถูกดี ถึงดี และพอดีในอาชีพของตนให้มาก
เพราะนั่นคือมาตรฐานความสำเร็จในอาชีพของตนเลยทีเดียว
1.1) ขยันอย่างถูกดี คือ มีปัญญาสามารถทำให้ถูกวัตถุประสงค์ของงานนั้น
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเป็นคนค้าขายเสื้อผ้า เวลาผลิตเสื้อผ้าหลากหลายชนิดออก
สู่ตลาดก็ต้องรู้จักความเหมาะสมของฤดูกาล เมื่อถึงฤดูหนาวก็ผลิตเสื้อกันหนาวออกขาย
พอถึงฤดูร้อนก็ผลิตเสื้อที่เหมาะสมกับฤดูร้อนออกวางขาย ไม่ใช่พอหน้าหนาวกลับผลิตเสื้อผ้า
ใส่ในฤดูร้อน แต่พอถึงฤดูร้อนกลับผลิตเสื้อผ้าใส่ในฤดูหนาว ซึ่งเป็นการทำผิดวัตถุประสงค์
ผิดกาลเวลา และความต้องการของคน เรียกว่า ทำไม่ถูกดี
1.2) ขยันอย่างถึงดี คือ มีความพยายามที่จะทำงานนั้นให้เต็มความสามารถ
และได้มาตรฐานที่มีคุณภาพ
ตัวอย่างเช่นในการผลิตเสื้อผ้าที่ออกขายนั้นไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้าประเภทใด สำหรับ
หน้าหนาว หรือหน้าร้อนก็ตาม ต้องผลิตอย่างมีคุณภาพ เหมาะสมกับราคา เป็นที่น่าเชื่อถือ
ของลูกค้าไม่ใช่ผลิตของปลอมใช้ของไม่มีคุณภาพมาผลิต แล้วขายด้วยราคาแพง ถ้าแบบนี้เรียกว่า
ทำไม่ถึงดี
1.3) ขยันอย่างพอดี คือ มีสติ ไม่ใช่ทำอย่างคึกคะนองจนเลยเถิด หรือเพื่อ
เหนียวมากไปจนเกิดความเสียหาย
ตัวอย่างเช่น เมื่อจะผลิตเสื้อผ้าออกมาขายในท้องตลาดนั้น ก็ต้องสำรวจปริมาณ
ของผู้บริโภคด้วยว่า มีจำนวนผู้บริโภคเท่าใด จะได้ไม่ผลิตเสื้อผ้าออกมาล้นตลาด จนไม่มีใครซื้อ
เหลือเป็นของค้างสต็อก เมื่อหมดฤดูกาลก็ขายไม่ออก เป็นของล้าสมัยไป ถ้าทำด้วยความขาด
สตินี้ เรียกว่า ทำไม่พอดี
66 DOU สูตรสำเร็จ ก า ร พั ฒ น า องค์กร และเศรษฐกิจ