จักรธรรม: หลักการพัฒนาตนเองและเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน GB 304 สูตรสำเร็จการพัฒนาองค์กรและเศรษฐกิจ หน้า 121
หน้าที่ 121 / 263

สรุปเนื้อหา

จักรธรรมเป็นหลักการพัฒนาตนเองและเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ประกอบด้วยข้อปฏิบัติ 4 ประการ ได้แก่ การอยู่ในถิ่นที่เหมาะ, การผูกไมตรีกับอริยชน, การตั้งตนไว้ชอบ, และการทำความดีไว้ก่อนแล้ว ซึ่งจะช่วยให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองทั้งทางโลกและทางธรรมอย่างยั่งยืน.

หัวข้อประเด็น

-จักรธรรม
-การพัฒนาตนเอง
-เศรษฐกิจยั่งยืน
-หลักธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ข้อความต้นฉบับในหน้า

แม้แต่น้อย และยังทรงสนับสนุนให้นำไปปฏิบัติอย่างเต็มกำลังอีกด้วย เพราะพระองค์ทรงรู้จริง ว่ายิ่งนำไปปฏิบัติมากเท่าไหร่ ผลดีย่อมเกิดแก่ผู้ปฏิบัติมากเท่านั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงให้ธรรมะไว้ชุดหนึ่ง สำหรับการพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้เหมาะ สมกับการสู้รบกับกิเลสในใจตนเองและกระแสกิเลสของชาวโลกได้อย่างมีประสิทธิผลข้ามภพ ข้ามชาติ เรียกว่า “จักรธรรม” 4.2 จักรธรรม หลักการพัฒนาตนเองและฐานะทางเศรษฐกิจให้เจริญ รุ่งเรืองอย่างยั่งยืน 4.2.1 จักรธรรมคืออะไร จักร แปลว่า วงล้อ, วงกลม, อาวุธรูปกลมมีคมเป็นเปลวรอบ, กองทัพ, อำนาจ, เขตแดน ธรรม แปลว่า ความจริง, ความถูกต้อง, ความดี, คุณสมบัติ, ข้อปฏิบัติ จักรธรรม แปลว่า วงล้อที่หมุนพาไปสู่ความจริงอันถูกต้องดีงาม เพราะฉะนั้น จักรธรรม หมายถึง ความดี 4 ประการ อันเป็นประดุจวงล้อที่ขับเคลื่อน ชีวิตให้ทำความดีสวนกระแสกิเลสได้อย่างเต็มที่และเป็นอุปการะให้ไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองทั้งทาง โลกและทางธรรมอย่างยั่งยืน 4.2.2 องค์ประกอบของจักรธรรม จักรธรรม ประกอบด้วยข้อปฏิบัติ 4 ประการ 1. ปฏิรูปเทสวาสะ แปลว่า การอยู่ในถิ่นที่เหมาะ 2. สัปปุริสปัสสยะ แปลว่า การผูกไมตรีกับอริยชน 3. อัตตสัมมาปณิธิ แปลว่า สมบูรณ์พร้อมด้วยการตั้งตนไว้ชอบ 4. ปุพเพกตปุญญตา แปลว่า ได้ทำความดีไว้ก่อนแล้ว จักรธรรม หรือ จักร 4 เรียกอีกอย่างว่า “พหุการธรรม” คือธรรมะที่มีอุปการะมาก เป็น เครื่องช่วยให้สามารถสร้างสมความดีอื่น ๆ ทุกอย่างได้เต็มที่ และช่วยให้ประสบความเจริญ ก้าวหน้าในชีวิตอย่างถูกต้องและยั่งยืน 110 DOU สูตรสำเร็จ การพัฒนาองค์กร และเศรษฐกิจ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More