ข้อความต้นฉบับในหน้า
5) การบรรลุธรรมของ “บรมครู”
แม้บรรพชิตสิทธัตถะ ได้ทรงเจริญสัมมาทิฏฐิ (ความเข้าใจถูก) สัมมาสังกัปปะ (การ
คิดถูก) สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ มาอย่างต่อเนื่องเป็นปกติมานานแล้ว แต่
ใจของพระองค์ท่าน ก็ยังไม่นุ่มนวลควรแก่การเข้าถึง “ธรรม (The Known Factor)” เพราะ
ภาพประสบการณ์ในอดีตที่เกี่ยวกับกามคุณ 5 คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส อารมณ์อันน่าใคร่
ตลอดจนอกุศลธรรมต่าง ๆ ที่ทรงเคยสัมผัส มักย้อนกลับมาหลอนกวนใจ
ในที่สุดทรงได้คิดว่า “ธรรม (The Known Factor)” นั้นอยู่ “ฟากตาย” คือ ใครจะ
เข้าถึงได้ต้องตัดอาลัย คลายความผูกพันในทุกสิ่งทุกอย่างให้สิ้นไป โดยเอาชีวิตเข้าแลกเป็น
เดิมพัน จึงจะได้มา
พระองค์จึงทรงตั้งอธิษฐานความเพียร เป็นสัมมาวายามะ ชนิดไม่ถอยหลังกลับว่า
“แม้เนื้อ เลือด ในสรีระ จะแห้งเหือดหายไป เหลือแต่ หนัง เอ็น กระดูก ก็ตามที เมื่อ
ยังไม่บรรลุ “ธรรม (The Known Factor)” ซึ่งบุคคลสามารถบรรลุได้ด้วยกำลังของมนุษย์
ด้วยความเพียรของมนุษย์ ด้วยความบากบั่นของมนุษย์ เรื่องจะยอมละความเพียรเสียนั้น
เป็นไม่มี”
จากนั้นพระองค์ก็ทรงตั้งสติน้อมใจ เข้ามาไว้ในพระวรกาย เป็นสัมมาสติ แล้วทรง
ประคองใจให้หยุดนิ่ง ณ ศูนย์กลางกาย จนกระทั่งถูกส่วน ใจของพระองค์ก็ผ่องใส นุ่มนวล
ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว เป็นสัมมาสมาธิ แล้วเข้าถึง และเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับ “ธรรม (The Known
Factor)” เป็นผลให้พระองค์ทรงเห็นและรู้ชัดอริยสัจ 4 ตามความเป็นจริงว่า
1. นี้ทุกข์
2. นี้สมุทัย : เหตุแห่งทุกข์
3. นี้นิโรธ : ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์
4. มรรค : ทางให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์
ทรงเห็นตลอดต่อไปถึง
1. กิเลสอาสวะ ที่หมักหมมในใจมาข้ามภพข้ามชาติ จนนับไม่ถ้วน
2. เหตุที่มาแห่งกิเลสอาสวะเหล่านั้น
3. ความดับไม่เหลือแห่งกิเลสอาสวะเหล่านั้น
4. หนทางให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งกิเลส อาสวะเหล่านั้น
160 DOU สูตรสำเร็จ การพัฒนาองค์กร และเศรษฐกิจ