ข้อความต้นฉบับในหน้า
4. เพื่อสร้างค่านิยมที่ถูกต้องให้แก่สังคม
5. เพื่อป้องกันตนเองไม่ให้คอยจับผิด คิดอิจฉาริษยาผู้อื่น
สาระสำคัญของสัมมาทิฏฐิข้อ 3 ที่ว่า การเซ่นสรวงมีผล คือ มีผลดีในการส่งเสริม
ให้ทุกผู้คนในสังคมยึดถือธรรมเป็นใหญ่ มีจิตผ่องใส เกิดกำลังใจในการทำความดีให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป
ก่อให้เกิดความสามัคคีของคนในสังคม
สัมมาทิฏฐิข้อที่ 4 ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วแล้วมีผล
1) ความหมายของผลวิบากกรรมของกรรมที่ทำดี ทำชั่ว
คำว่า “กรรม” ในพระพุทธศาสนา แปลว่า การกระทำโดยเจตนา นั่นคือ การกระทำ
ทางกาย วาจา และใจ ที่เกิดจากความตั้งใจ
กรรมดี หมายถึง การกระทำที่ดีงาม เหมาะสม ไม่ผิดศีล ไม่ผิดธรรม ไม่มีบาป
กรรมชั่ว หมายถึง การกระทำที่ผิดศีล ผิดธรรม ก่อให้เกิดบาป
2) เกณฑ์ในการตัดสินกรรมดี กรรมชั่ว
1. พิจารณาที่ผลสุดท้ายของการกระทำ ดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า “บุคคลทำกรรมใด
แล้วไม่เดือดร้อนในภายหลัง มีจิตแช่มชื่นเบิกบานได้รับผลกรรมใด กรรมที่ทำแล้วนั้นเป็นกรรมดี
บุคคลทำกรรมใดแล้ว ย่อมเดือดร้อนในภายหลัง และมีหน้านองด้วยน้ำตาร้องไห้อยู่ ได้รับ
ผลกรรมใด กรรมที่ทำแล้วนั้นเป็นกรรมชั่ว”
2. พิจารณาที่ต้นเหตุของการกระทำดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า “กรรมที่บุคคลทำด้วย
อโลภะ อโทสะ อโมหะ กรรมนั้นเป็นกุศลกรรม ไม่มีโทษ กรรมนั้นมีผลเป็นสุข กรรมใดที่บุคคล
ทำด้วย โลภะ โทสะ โมหะ กรรมนั้นเป็นอกุศลกรรมมีโทษ กรรมนั้นมีผลเป็นทุกข์”
สาระสำคัญของสัมมาทิฏฐิข้อ 4 ที่ว่า ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่ว มีผล คือ ไม่ว่า
กาลไหนๆ ในที่สุดแล้ว บุคคลทำดีต้องได้ดีจริง บุคคลทำชั่วต้องได้ชั่วจริง
สัมมาทิฏฐิข้อที่ 5 โลกนี้มี
1) ความหมายและขอบเขตของโลกนี้
ตามพระพุทธศาสนา คำว่า โลก มีความหมายกว้างมาก ความหมายอย่างแคบ ยัง
บทที่ 2 ฆราวาสธรรมคุณ สมบัติ ของ ผู้ชนะความจน - ความเจ็บ - ความโง่ DOU 37