การสร้างฐานะทางเศรษฐกิจตามหลักพุทธศาสตร์ GB 304 สูตรสำเร็จการพัฒนาองค์กรและเศรษฐกิจ หน้า 86
หน้าที่ 86 / 263

สรุปเนื้อหา

ในหลักการสร้างฐานะทางเศรษฐกิจตามหลักพุทธศาสนา มี 4 ประการที่สำคัญ ได้แก่ การผลิตที่มีคุณภาพ การเลือกอาชีพที่ถูกต้องและไม่ผิดศีลธรรม รวมถึงการทำการค้าที่ให้คุณค่าแก่ลูกค้า การรักษาความน่าเชื่อถือในธุรกิจเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากอาชีพที่ผิดหลักจริยธรรมเช่น การค้าอาวุธหรือการค้ามนุษย์จะนำไปสู่อเวจีและกรรมที่หนักหน่วง ดังนั้นผู้ประกอบการจะต้องมีความขยันและตั้งใจในการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพเพื่อสร้างฐานะที่มั่นคงและยั่งยืน โดยต้องหลีกเลี่ยงการเอาเปรียบลูกค้าเพื่อรักษาสัมพันธภาพที่ดีในอนาคต. สำหรับผู้ที่สนใจในการสร้างฐานะที่ถูกต้องตามหลักธรรม สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ dmc.tv.

หัวข้อประเด็น

-การผลิตที่มี คุณภาพ
-การเลือกอาชีพที่ถูกต้อง
-คุณธรรมในธุรกิจ
-ความน่าเชื่อถือในการค้า
-เศรษฐศาสตร์พุทธ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ทั้ง 4 ประการนี้ ให้ถูกดี ถึงดี พอดี จึงจะเรียกว่า เป็นคนหาทรัพย์เป็น 1) การผลิต การผลิต คือ การสร้างงาน สร้างผลงานออกมาให้ถูกดี ถึงดี พอดี คนสร้างฐานะต้องมีความขยันในการผลิต โดยต้องยึดมั่นใน “สัจจะ” เป็นคุณธรรม พื้นฐาน และมีหน้าที่ต้องกระทำ 5 ประการ คือ 1.1) เลือกประกอบสัมมาอาชีพตามที่ตนถนัด หมายถึง การเลือกอาชีพที่ไม่ผิดศีลธรรม ไม่ทุจริตผิดกฎหมาย และไม่เป็นมิจฉาอาชีพ มิจฉาอาชีพที่พระพุทธองค์ทรงให้ไว้คือ 1. การค้าอาวุธ 2. การค้ามนุษย์ 3. การค้ายาพิษ 4. การค้ายาเสพติด 5. การค้าสัตว์เพื่อนำไปฆ่า วัตถุประสงค์ที่พระพุทธองค์ทรงห้ามประกอบการค้าทั้ง 5 ประการ ก็เพราะว่าเป็น อาชีพที่ผิดหลักกฎแห่งกรรม หากไปประกอบอาชีพนี้แล้วย่อมก่อเวร สร้างกรรมให้กับตนเอง เมื่อตายไปย่อมตกนรกแน่นอน ดังนั้น ชาวพุทธต้องศึกษาให้ดีว่า เมื่อจะเลือกประกอบอาชีพ ต้องเป็นอาชีพที่ไม่ผิดหลักกฎแห่งกรรม 1.2) ผลิตสินค้ามีคุณภาพ คุณภาพ คือ สิ่งที่เป็นมาตรฐาน หรือ สิ่งที่เป็นต้นแบบ การผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ จึงเป็นการสร้างสรรค์ สินค้าหรือผลงานที่เป็นมาตรฐานและเป็นต้นแบบ หัวใจของการทำการค้าคือการแสวงหากำไรให้ได้มากที่สุดด้วยการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ ไม่ใช่การทำกำไรจากการเอารัดเอาเปรียบลูกค้าให้ได้มากที่สุด คนที่เอาเปรียบลูกค้า เช่น ลด ปริมาณสินค้า ลดคุณภาพสินค้า แม้จะได้กำไรในตอนแรก แต่อีกไม่นานกิจการต้องถดถอย เพราะใคร ๆ ก็ต้องรู้เท่าทันเล่ห์เหลี่ยม ก็จะเกิดความรังเกียจไม่กลับมาซื้ออีกต่อไป โบราณจึง กล่าวไว้ว่า “ซื่อกินไม่หมดคดกินไม่นาน” คนทำการค้าจึงต้องรักษาความน่าเชื่อถือของตน ให้ดี บทที่ 3 เศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ หลักการสร้างฐานะเพื่อความสุข... DOU 75
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More