การเริ่มต้นแก้ไขตนเองและการเผยแผ่ธรรมะ GB 304 สูตรสำเร็จการพัฒนาองค์กรและเศรษฐกิจ หน้า 142
หน้าที่ 142 / 263

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงการเริ่มต้นแก้ไขตนเอง โดยการเห็นข้อบกพร่องผ่านการทำสมาธิและการมีใจเป็นกลาง ซึ่งนำไปสู่การปรับปรุงพฤติกรรม เพื่อสร้างสังคมที่สงบสุขมากขึ้น การเผยแผ่ธรรมะเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยกระจายวิธีการลดทุกข์ร้อนให้กับทุกคน โดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้างศรัทธาในหมู่ประชาชน เพราะเมื่อมีความศรัทธาในการฟังธรรม แล้วประชาชนจะหันมาหาธรรมะและเข้าวัดมากขึ้น ซึ่งการดูแลวัดให้สะอาดก็เป็นปัจจัยที่สำคัญในการดึงดูดผู้คนให้เข้ามาในสถานที่นั้น

หัวข้อประเด็น

-การแก้ไขตนเอง
-การเผยแผ่ธรรมะ
-ความสำคัญของศรัทธา
-การสร้างวัด
-การดูแลความสะอาดของวัด

ข้อความต้นฉบับในหน้า

เพราะฉะนั้น การจะเริ่มต้นแก้ไขอะไรก็ตาม ต้องเริ่มจากมองเห็นข้อบกพร่องของ ตนเองก่อน ทำอย่างไรจึงจะเห็นข้อบกพร่องของตนเอง ก็ทำได้โดยหลับตาทำสมาธิให้ใจเป็นกลาง พอใจเป็นกลาง ก็จะเห็นพฤติกรรมของตัวเอง ถูกก็มองเห็น ผิดก็มองเห็น แล้วก็ลงมือแก้ไขให้ ตรงจุด ที่ถูกก็ทำให้ถูกยิ่งขึ้นไป ที่ผิดก็แก้ไขให้ถูก ด้วยวิธีที่ต่างคนก็เริ่มต้นแก้ไขที่ตัวเองนี้ โดยไม่ปล่อยให้ใครมาแทรกแซง เดี๋ยวก็แก้ไข ได้ ยกเว้นว่า คนๆ นั้นเป็นคนบ้าสติไม่ดี หรือคนตายไปแล้วเท่านั้นที่แก้ไขไม่ได้ ดังนั้น การเผยแผ่ธรรมะจึงมีจุดประสงค์เพื่อกระจายวิธีกำจัดทุกข์ร้อนให้ทั่วถึงทุกคน อย่างมากที่สุด ยิ่งกระจายออกไปกว้างไกลเท่าไหร่ ยิ่งทำให้ท้องถิ่นนั้น ประเทศนั้นมีความสงบ สุขมากยิ่งขึ้น เมื่อเป็นอย่างนี้ ทุกคนก็เพียงแต่ตั้งใจแก้ไขตัวเอง โลกที่เคยร้อนก็จะเย็นลงตาม ลำดับๆ โดยมีการเผยแผ่ธรรมะเป็นจุดเริ่มต้นนั่นเอง 1.3.3) ทำอย่างไรธรรมะจึงจะเผยแผ่ไปในท้องถิ่น การเผยแผ่ธรรมะไปในท้องถิ่นจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อประชาชนมีศรัทธา พระสัมมา สัมพุทธเจ้าทรงชี้ให้เห็นว่าศรัทธานั้นเป็นผลที่เกิดขึ้นหลังการฟังธรรม ประเด็นสำคัญก็คือ ทำอย่างไรประชาชนถึงอยากจะฟังธรรม ธรรมชาติของมนุษย์นั้น ย่อมหนีร้อนมาพึ่งเย็น สถานที่แห่งใดก็ตามที่เขาเชื่อว่า สามารถให้ความเย็นใจแก่เขาได้ เขาย่อมไปที่แห่งนั้น ปู่ย่าตาทวดในอดีตจึงนิยมสร้างวัดวา อารามไว้ใกล้หมู่บ้าน และเดินทางไปนิมนต์พระภิกษุผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบมาอยู่ประจำ เพื่อเป็นครูสอนศีลธรรมประจำหมู่บ้าน ซึ่งก็เป็นเหตุให้เกิดวัดวาอารามต่างๆ ทั่วประเทศใน สมัยนั้น และมีหลักฐานตราบมาถึงทุกวันนี้ พระอาจารย์ในสมัยก่อน ท่านมีคาถาเรียกคนเข้าวัดด้วยการทำวัดให้เป็นสถานที่ เย็นกายเย็นใจ ใครก็ตามเพียงแค่เดินเฉียดปากประตูวัดเท่านั้น ก็สัมผัสได้ถึงความสงบกาย สงบใจ อยากจะเข้าไปฟังธรรมในวัด คาถาเรียกคนเข้าวัดของท่านนั้น มีอยู่ 3 ประการ 1) ขยันกวาดวัด หมายถึง การหมั่นดูแลวัดให้มีความสะอาดอยู่เสมอ เพราะถ้าวัด ไม่สะอาดกว่าบ้านที่เขาอยู่ ประชาชนที่ไปวัดย่อมเกิดความคิดในแง่ดีได้ยาก เป็นผลให้เกิด ความคิดจับผิดได้ เพราะมีความรู้สึกว่ามาวัดแล้ว มองไปทางไหนก็มีแต่ความไม่สบายตา ไม่สบายใจ เห็นแต่ขยะเกลื่อนวัดไปหมด แต่ถ้าวัดสะอาดกว่าบ้านที่เขาอยู่ เพียงแค่เห็น บทที่ 4 จั ก ร ธ ร ร ม ห ลั ก การพัฒนาตนเอง และฐานะทางเศรษฐกิจ... DOU 131
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More