ฆราวาสธรรม: คุณสมบัติของผู้ชนะความจน-ความเจ็บ-ความโง่ GB 304 สูตรสำเร็จการพัฒนาองค์กรและเศรษฐกิจ หน้า 44
หน้าที่ 44 / 263

สรุปเนื้อหา

บทที่ 2 ของหนังสือนี้กล่าวถึงฆราวาสธรรมและคุณสมบัติที่สำคัญของผู้ที่จะเอาชนะความจน ความเจ็บ และความโง่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยอ้างถึงคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่เน้นว่าความสำเร็จในการสร้างฐานะไม่ใช่สิ่งที่ตกลงมาจากฟ้า แต่ต้องอาศัยความศรัทธาและการปฏิบัติธรรม 4 ประการ ได้แก่ สัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ ในการดำเนินชีวิตอย่างถูกต้อง ศรัทธาในที่นี้มีความหมายทั้งในแง่ของการมีความเชื่อมั่นในความดีของพระพุทธเจ้าและการเชื่อมั่นในพระธรรมคำสอน เพื่อให้สามารถสร้างชีวิตที่ปราศจากความเศร้าโศกและที่มีความสำเร็จอย่างแท้จริง

หัวข้อประเด็น

-ฆราวาสธรรม
-คุณสมบัติของผู้ชนะความจน
-ความเจ็บ
-ความโง่
-ศรัทธาในการดำเนินชีวิต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บทที่ 2 ฆราวาสธรรม คุณสมบัติของผู้ชนะความจน-ความเจ็บ-ความโง่ ความสำเร็จในการสร้างตัวสร้างฐานะไม่ได้ตกลงมาจากท้องฟ้า คนจะสร้างตัวสร้าง ฐานะได้สำเร็จ ต้องเอาชนะปัญหาความยากจน-ความเจ็บ ความโง่ ให้ได้ก่อน โดยอันดับแรก ต้องรู้จักสร้างตัวให้ถูกวิธี จึงจะมีคุณสมบัติที่ดีไปใช้ในการสร้างฐานะให้มั่นคง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงให้หลักในการสร้างตัวไว้ว่า “บุคคลใดอยู่ครองเรือนประกอบด้วยศรัทธา มีธรรม 4 ประการนี้ คือ สัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ บุคคลนั้นแล ละโลกนี้ไปแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก” จากพุทธพจน์บทนี้ ย่อมแสดงให้เห็นว่า ผู้ที่จะมีชีวิตไม่เศร้าโศก คือ เอาชนะความจน ความเจ็บ-ความโง่ได้นั้น ต้องประกอบด้วย คุณสมบัติ 2 ประการ 1. เป็นผู้มีศรัทธาในการดำเนินชีวิต 2. เป็นผู้มีฆราวาสธรรม คือ สัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ 2.1 ใครคือผู้มีศรัทธา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่าการดำเนินชีวิตของผู้ครองเรือนที่ถูกต้องนั้น ต้องดำเนิน ชีวิตด้วยศรัทธา ศรัทธา แปลว่า ความเชื่อมั่น ความไว้วางใจ ศรัทธา มี 2 ความหมายดังนี้ นัยที่ 1 : ศรัทธา คือ ความไว้วางใจในพระปัญญาธิคุณ พระบริสุทธิคุณ และพระมหา กรุณาธิคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นัยที่ 2 : ศรัทธา คือ ความเชื่อมั่นใ มั่นในพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ว่าถูกต้องจริง ดีจริง และเป็นประโยชน์จริง จึงลงมือปฏิบัติตามด้วยความเต็มใจ ศรัทธาเบื้องต้นเกิดขึ้นจากการได้ฟังธรรมและเกิดความเข้าใจถูกต้องตามความเป็นจริง ในเรื่องโลกและชีวิต 10 ประการ ได้แก่ บทที่ 2 ฆราวาสธรรม คุณสมบัติ ของ ผู้ชนะความจน - ความเจ็บ - ความโง่ DOU 33
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More