ข้อความต้นฉบับในหน้า
เกิดมีในตน ก็พยายามสร้างขึ้น ความดีใดที่เกิดมีขึ้นแล้ว ก็รักษาไว้อย่าให้เสื่อม จึงพัฒนาเป็น
พยายามชอบ คือ ประคองรักษาจิตไว้ในกายเป็นปกติ ไม่ให้จิตเที่ยวเตลิดไป
7. สัมมาสติ แต่เดิมเป็นเพียงระลึกถูก คือ ไม่เผอเรอ จึงพัฒนาเป็นระลึกชอบ คือ
ระลึกในสติปัฏฐาน 4 ได้แก่ กำหนดใจอยู่ภายใน จนกระทั่งเกิดความสว่างภายในและเห็น “ธรรม
(The Known Factor)” ชัดเจนอยู่ภายในเป็นปกติ
8. สัมมาสมาธิ แต่เดิมเป็นเพียง ใจตั้งมั่นถูก คือ ตั้งใจมุ่งมั่นทำความดีตามควรแก่
วัยของตน จึงพัฒนาเป็น ใจตั้งมั่นชอบ คือ ใจหยุดนิ่งตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อยู่ ณ ศูนย์กลางกาย
ถูกส่วนพอเหมาะ และเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับ “ธรรม (The Known Factor)” เป็นปกติ ธรรม
นั้น จึงส่องสว่างอยู่กลางใจตลอดเวลา กิเลสทั้งหลายที่สิงอยู่ในใจ จึงถูกขจัดไป เหมือนดวง
อาทิตย์ยามเที่ยงย่อมฆ่าความมืดที่ห่อหุ้มโลก หมดไปได้ฉะนั้น
4.5.4 เส้นทางการสั่งสอนชาวโลกของ “บรมครู”
1) พระองค์ทรงปรารภเรื่องการสั่งสอนชาวโลก
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงตระหนักว่า
“ธรรม (The Known Factor)” ที่พระองค์ได้บรรลุแล้วนี้ ลึกซึ้ง เห็นตามยาก รู้ตามได้
ยาก สงบ ประณีต ไม่เป็นวิสัยแห่งตรรก ละเอียด บัณฑิต (เท่านั้น) จึงจะรู้เห็นตามได้
นั่นคือ “ธรรม (The Known Factor)” นี้ ผู้ที่ทุ่มเทชีวิตจิตใจ ปฏิบัติถูกตามหลักวิชชา
เท่านั้น จึงจะเข้าถึง เห็นชัด รู้ชัด “ธรรม (The Known Factor)” ได้ด้วยตนเอง
2) ทรงจำแนกชาวโลกเพื่อประโยชน์ต่อการสั่งสอน
พระองค์ทรงจำแนกชาวโลก เพื่อประโยชน์ต่อการสั่งสอน ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
กลุ่มที่ 1 มีใจหยุดนิ่งเป็นปกติแล้ว ไม่ว่าจะได้ฟังพระธรรมเทศนาหรือไม่ก็ตาม บุคคล
กลุ่มนี้จะช้าจะเร็ว ย่อมสามารถอบรมตนเองให้เข้าถึง “ธรรม (The Known Factor) ได้เช่นเดียว
กับพระองค์
กลุ่มที่ 2 มีปกติปล่อยใจให้เที่ยวเตลิดไป ไม่ว่าจะได้ฟังหรือไม่ได้ฟังพระธรรมเทศนา
ก็ตาม ย่อมไม่สามารถเข้าถึง “ธรรม (The Known Factor)”
กลุ่มที่ 3 มีปกติอบรมตนเองให้ใจหยุดนิ่ง อยู่ภายในได้ในระดับหนึ่งแล้ว หากได้ฟัง
162 DOU สูตรสำเร็จ การพัฒนาองค์กร และเศรษฐกิจ