การดำรงชีวิตตามหลักเศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ GB 304 สูตรสำเร็จการพัฒนาองค์กรและเศรษฐกิจ หน้า 100
หน้าที่ 100 / 263

สรุปเนื้อหา

การคำนวณค่าใช้จ่ายเพื่อการดำรงชีวิตเป็นสิ่งที่สำคัญ โดยต้องคำนึงถึงค่าการศึกษา ค่าอุปโภคบริโภค ค่าเครื่องอำนวยความสะดวก และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ทั้งหมดที่จำเป็นในการใช้ชีวิตอย่างมีหลักเกณฑ์ตามที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ ซึ่งรวมถึงการใช้ทรัพย์เพื่อความสุขของตนและครอบครัว การป้องกันภัย และการทำบุญเพื่ออุทิศให้แก่ผู้ล่วงลับและเทวดา เมื่อมีการเตรียมงบประมาณที่ดี และวางแผนการใช้จ่ายอย่างชาญฉลาด จะช่วยเสริมสร้างความสุขในปัจจุบันรวมถึงในชาติหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ.

หัวข้อประเด็น

-การคำนวณค่าใช้จ่าย
-การวางแผนการใช้ทรัพย์
-เศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ
-การดำรงชีวิตอย่างมีหลักการ
-ความสุขในชาติหน้า

ข้อความต้นฉบับในหน้า

การดำรงชีวิต โดยการคำนวณ จาก 2.1) ค่าการศึกษา x จำนวนปี = ? 2.2) ค่าปัจจัย 4 สำหรับเลี้ยงชีวิตของตนและคนในครอบครัว อาหาร x 3 มือ x 75 ปี = ? เสื้อผ้า x ? ชุด 75 ปี = ? ยารักษาโรค × 75 ปี = ? ที่อยู่อาศัย x 1 หลัง = ? 2.3) ค่าเครื่องอำนวยความสะดวกเท่าที่จำเป็น x 75 ปี = ? ตัวอย่างข้างต้น เป็นเพียงตัวอย่างการคำนวณ แต่หากท่านลงมือทดลองคำนวณค่า ใช้จ่ายของตัวท่านดูแล้ว จะพบว่างบประมาณที่จำเป็นตลอดทั้งชีวิตของเราคือเท่าไหร่ ซึ่งก็จะ เพียงพอต่อการดำรงชีวิตแล้ว ส่วนงบประมาณที่เหลือ คืองบประมาณที่ใช้สำหรับการ ฝังขุมทรัพย์ไว้ในพระพุทธศาสนา เป็นการเตรียมเสบียงเดินทางข้ามวัฏสงสาร เพื่อความสุข ในชาติหน้า 3) ต้องวางแผนการใช้ทรัพย์เป็น พระพุทธองค์ได้ให้หลักการใช้จ่ายทรัพย์ที่ถูกต้อง 4 ประการ คือ 3.1) ใช้เลี้ยงตนมารดา บุตรภรรยา บริวาร และมิตรสหายให้เป็นสุข ก 3.2) ใช้ป้องกันภัยธรรมชาติและอันตรายจากบุคคลต่าง ๆ 3.3) ใช้ทำพลี 5 คือ 1. ญาติพลี 2. อติถิพลี สงเคราะห์ญาติ ต้อนรับแขก 3. ปุพพเปตพลี 4. ราชพลี 5. เทวตาพลี ทำบุญอุทิศให้ผู้ตาย ถวายให้หลวง มีภาษีอากรเป็นต้น ทำบุญอุทิศให้เทวดา 3.4) ใช้บำเพ็ญทักษิณาทานในสมณพราหมณ์ผู้มีศีลบริสุทธิ์ ปัตตกัมมสูตร, อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต, มก. เล่ม 35 หน้า 198. บทที่ 3 เศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ หลักการสร้างฐานะเพื่อความสุข... DOU 89
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More