จักรธรรม: การพัฒนาตนเองและฐานะทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน GB 304 สูตรสำเร็จการพัฒนาองค์กรและเศรษฐกิจ หน้า 119
หน้าที่ 119 / 263

สรุปเนื้อหา

บทที่ 4 พูดถึงการพัฒนาตนเองและฐานะทางเศรษฐกิจตามหลักพุทธศาสนา โดยเน้นความสำคัญของสิ่งแวดล้อมและเครือข่ายคนดีในการรักษาและป้องกันผลสำเร็จจากการสร้างความดี ความสำเร็จในการกำจัดกิเลสไม่ได้เกิดขึ้นโดยลำพัง ต้องทำร่วมกับคนดีในท้องถิ่นเพื่อพัฒนาชีวิตและฐานะทางเศรษฐกิจให้ยั่งยืน การอยู่ท่ามกลางคนที่มีเป้าหมายเหมือนกันช่วยให้สามารถรักษาความดี ป้องกันอบายมุขได้ สรุปคือ การร่วมมือกันสร้างสังคมที่ดีเพื่อผลสำเร็จของทั้งกลุ่มและตัวเราเองเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการพัฒนาอย่างยั่งยืนในอนาคต.

หัวข้อประเด็น

-พัฒนาตนเอง
-ฐานะทางเศรษฐกิจ
-หลักเศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ
-การสร้างความดี
-การกำจัดกิเลส
-การอยู่ร่วมกับเครือข่ายคนดี

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บทที่ 4 จักรธรรม หลักการพัฒนาตนเองและฐานะทางเศรษฐกิจให้เจริญรุ่งเรืองอย่างยั่งยืน 4.1 สิ่งแวดล้อมไม่ดี สร้างความดีไม่ยั่งยืน การสร้างตัวสร้างฐานะตามพุทธวิธีด้วยฆราวาสธรรมและหลักเศรษฐศาสตร์เชิงพุทธนั้น ย่อมเป็นหลักประกันความสำเร็จของเป้าหมายชีวิตระดับต้นและระดับกลางให้แก่ตนเองขึ้นมา แล้ว แต่การจะรักษาและป้องกันผลสำเร็จของการสร้างตัวสร้างฐานะให้ยั่งยืนไปตลอดชาตินี้ และตลอดไปทุกภพทุกชาตินั้น มีความจำเป็นต้องมุ่งปฏิบัติเป้าหมายชีวิตขั้นสูงสุดควบคู่ไปด้วย นั่นคือ การมุ่งกำจัดกิเลสในใจให้หมดสิ้นเพื่อบรรลุพระนิพพาน แต่การกำจัดกิเลสในใจตัวเองและทวนกระแสกิเลสของคนทั้งโลกนั้น มิใช่ของง่าย การ ทำตามลำพังย่อมเป็นงานหนักที่จะทำได้สำเร็จ จำเป็นต้องได้อาศัยในท้องถิ่นที่เหมาะสมแก่ การทำความดี อีกทั้งยังต้องมีเครือข่ายคนดีที่มีเป้าหมายชีวิตขั้นสูงสุดเหมือนๆ กันอยู่ร่วมด้วย จึงจะมีกำลังใจในการพัฒนาตนเองและฐานะให้เจริญก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไป และในเวลาเดียวกัน ย่อมเป็นการป้องกัน ไม่ให้ตนเองไถลลงข้างทางไปตามกระแสเชี่ยวกรากของกิเลสเสียก่อน เพราะการอยู่ร่วมกับหมู่คณะที่มีเป้าหมายชีวิตสูงสุดเหมือนกัน ย่อมทำให้ควบคุมกิเลสไว้ได้ สร้างความดีได้ง่าย รักษาความดีได้ง่าย เพิ่มพูนความดีได้ง่าย และสามารถประพฤติปฏิบัติ ธรรมได้อย่างเต็มที่ จึงมีโอกาสก้าวหน้าในการบรรลุธรรม แต่ท้องถิ่นที่เหมาะแก่การทำความดีและหมู่คณะที่มีเป้าหมายชีวิตเหมือนกันนั้น จะ เกิดขึ้นได้ต่อเมื่อเรารวบรวมทีมมาลงมือสร้างขึ้นมาเท่านั้น หากแต่ลำพังต่างคนต่างอยู่ ไม่ชักชวนคนดีในท้องถิ่นมาร่วมกันพัฒนาท้องถิ่นให้เหมาะแก่การทำความดี ศีลธรรมย่อมตก อยู่ในสภาพอ่อนแอ แต่อบายมุขมีกำลังเข้มแข็งเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ผลสุดท้าย หมู่คนพาลย่อมมี อำนาจปกครองท้องถิ่นให้ตกอยู่ใต้อบายมุข ส่วนคนดีที่อยู่กันแบบตัวใครตัวมัน ก็เท่ากับนั่งรอ วันประสบภัยพิบัติทั้งต่อชีวิต ทรัพย์สิน และหมู่ญาติพี่น้อง เพราะการทำความดีท่ามกลาง ท้องถิ่นที่เต็มไปด้วยคนพาลและอบายมุขเช่นนี้ จะรักษาความดีของตนไปได้นานเท่าไหร่ 108 DOU สูตรสำเร็จ การพัฒนาองค์กร และเศรษฐกิจ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More