ข้อความต้นฉบับในหน้า
ในพระพุทธศาสนา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงค้นพบว่า โรคทางกายที่ว่าหนัก
หนาสาหัสแล้ว ยังร้ายกาจไม่จริง ยังมีโรคอีกชนิดหนึ่งที่ฝังอยู่ในใจ แต่แพทย์ทั่วไปมองไม่เห็น
เรียกว่า กิเลส
กิเลสนี้ มีอยู่ในตัวเราตั้งแต่เมื่อไหร่ เราเองก็ไม่ทราบ รู้แต่ว่าพอเกิดมา กิเลสก็มีอยู่
ในตัวเราแล้ว กิเลส เป็นโรคร้ายที่ฝังอยู่ในใจ คอยบีบคั้นให้มนุษย์คิดชั่ว พูดชั่ว ทำชั่ว แล้วผล
ของความชั่วที่ทำไว้ก็ไม่หายไปไหน มันได้กลายเป็นผลเสียหาย ที่เรียกว่า วิบากกรรม ซึ่งจะ
ย้อนกลับมาจ้องเล่นงานเราให้เดือดร้อนอย่างแสนสาหัสอีกสารพัดในอนาคต กลายเป็นว่า
ทันทีที่เราทำความชั่ว เราก็ตกเข้าไปสู่วงจรกฎแห่งกรรมที่มีอยู่ประจำโลกนี้ทันที
ยกตัวอย่างเช่น ใครไปฆ่าสัตว์ตัดชีวิตเอาไว้ ในอนาคตเราเองก็จะถูกตัดรอนชีวิตให้
อายุสั้นลงเหมือนอย่างกับที่เราไปทำให้สัตว์ตัวนั้นอายุสั้น ใครที่เคยไปพูดจาใส่ความเขาเอาไว้
ในอนาคตตัวเองก็ต้องถูกใส่ความเหมือนอย่างกับที่ตัวเราทำมาก่อน แม้แต่ความคิดอิจฉาริษยา
ผู้อื่น ใครที่เคยไปคิดอิจฉาริษยาเอาไว้ ถึงเวลาตนเองก็จะถูกผู้อื่นคิดริษยาอีกเหมือนกัน หรือ
แม้ไม่มีใครมาอิจฉาตัวเอง แต่ก็ทำให้ตัวเองคิดเรื่องอะไรดีๆ ไม่ออกอีกเช่นกัน
นี่คือวงจรของกฎแห่งกรรมที่มันมีอยู่ประจำโลกและมีกิเลสเป็นตัวบีบคั้นให้เข้าไปติด
อยู่ในวงจรของกฎแห่งกรรม
พระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังทรงเห็นทรงรู้อีกด้วยว่า วงจรของกฎแห่งกรรมนั้น ถ้า
แต่ละคนยังปราบกิเลสในใจได้ไม่หมด มันจะไม่จบลงง่ายๆ เพราะในขณะที่วิบากกรรมชั่วเก่ายัง
ส่งผลมาไม่หมด แต่กิเลสในใจก็ยังคอยบีบคั้นให้เราสร้างวิบากกรรมชั่วใหม่เพิ่มขึ้นต่อไปอีก
เพราะฉะนั้น เราจึงต้องตกอยู่ในสภาพ วิบากกรรมเก่ายังไม่ทันหมดไป วิบากกรรม
ใหม่ก็จ้องเล่นงานอยู่ตลอดเวลา ชีวิตของมนุษย์จึงประสบแต่ความทุกข์เดือดร้อนสารพัดอย่าง
ไม่สิ้นสุดเพราะกิเลสบีบบังคับให้ตกอยู่ในวงจรกฎแห่งกรรมอย่างนี้ตลอดเวลา
ใจให้หมดสิ้น
การหลุดพ้นจากวงจรกฎแห่งกรรมได้ จึงมีทางเดียว คือ ต้องกำจัดกิเลสออกไปจาก
กิเลสจึงเป็นโรคร้ายทางใจที่อันตรายกว่าโรคร้ายทางกายหลายล้านเท่านัก
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงทราบถึงความร้ายกาจของกิเลสเป็นอย่างดี ซึ่งพวกเรา
ก็ได้เรียนกันมาแล้วในพุทธประวัติว่า เมื่อสองพันห้าร้อยกว่าปีที่แล้ว พระองค์เองเพื่อต้องการ
กำจัดกิเลสให้หมดสิ้น ก็ทรงทุ่มชีวิตเป็นเดิมพันในการบำเพ็ญภาวนา ในคืนวันวิสาขบูชาเช่นกัน
บทที่ 4 จั ก ร ธ ร ร ม ห ลั ก การพัฒนาตนเอง และฐานะทางเศรษฐกิจ... DOU 125