ข้อความต้นฉบับในหน้า
กิเลสเป็นเชื้อโรคร้ายที่ฝังอยู่ในตัวเรามาตั้งแต่เกิด เวลามันกำเริบขึ้นมา จะคอยบีบคั้น
บังคับ ให้เราทำความชั่วต่าง ๆ โดยไม่มีความละอาย แล้วพอเราไปทำเข้า กิเลสก็ทำให้เราได้
รับทุกข์ เป็นความเดือดร้อนมากมาย เป็นเหตุให้เราต้องมานั่งตำหนิตนเองในภายหลัง
อบายมุข เป็นสิ่งเร้าภายนอกที่คอยกระตุ้นกิเลสให้กำเริบ และลุกลามอยู่ภายในใจ จน
กลายเป็นนิสัยที่ไม่ดี หรือสันดานชั่วๆ ที่แก้ไขได้ยาก
บุคคลบางคนทนต่อความลำบากตรากตรำได้ ทนต่อทุกข์เวทนาได้ ทนต่อความ
เจ็บใจจากผู้ใต้บังคับบัญชา แต่ที่ทนได้ยากที่สุดคือ ทนต่ออำนาจกิเลส หรือ การอดทนต่อ
ความอยากนั่นเอง
ตัวอย่างเช่น ผู้ชายบางคน ทนแดดทนฝน ทนได้สารพัด แม้ที่สุด เขาเอาเงินมาติดสินบนก็
ไม่ยอมรับ เอาปืนมาขู่จะฆ่าบังคับ จะให้ทำผิด ก็ไม่ยอมก้มหัว แต่พอเจอสาวๆ สวย ๆ มาออด
อ้อนออเซาะเอาใจเข้าหน่อย ก็เผลอใจไปหมดทุกอย่าง อะไรที่ผิดก็ยอมทำ ไม่ว่าจะ ผิดกฎหมาย
ผิดศีล หรือผิดธรรมก็ตาม ถ้าหากเป็นเช่นนี้แล้วก็ยากที่จะสร้างตัวขึ้นมาได้
ดังนั้นความอยู่รอดของตัวเรา จึงขึ้นอยู่กับว่าเราสามารถทนต่ออำนาจกิเลสได้เพียงใด
เราจึงต้องอดทนต่อกิเลสให้ได้ด้วยการฝึกฝนตนเอง 2 ประการ คือ
1. อดทนต่อการควบคุมนิสัยที่ไม่ดีของเราไม่ให้ระบาดไปติดคนอื่น
2. อดทนต่ออบายมุข 6
ถ้าหากอดทนต่อสิ่งเหล่านี้ได้ก็จะสามารถตั้งตัวได้
ดังนั้น ขันติจึงเป็นคุณธรรมที่สำคัญ ที่เป็นพื้นฐานของการสร้างตัว นั่นเอง
2.3.4 การสร้าง “จาคะ” ให้เกิดขึ้นในตน
จาคะ แปลว่า ความเสียสละ
จาคะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. การสละสิ่งของ
2. การสละความสะดวกสบาย
3. การสละอารมณ์ที่บูดเน่า
ความเสียสละ หมายถึง ความมีน้ำใจต่อการอยู่ร่วมกัน นึกถึงประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก
บทที่ 2 ฆราวาสธรรม คุณสมบัติของผู้ชนะความจน - ความเจ็บ - ความโง่ DOU 51