ความสัมพันธ์ของบ้าน วัด โรงเรียน และการปลูกฝังศีลธรรม GB 304 สูตรสำเร็จการพัฒนาองค์กรและเศรษฐกิจ หน้า 150
หน้าที่ 150 / 263

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้อภิปรายถึงความสำคัญของบ้าน วัด และโรงเรียนในการปลูกฝังศีลธรรมให้กับเยาวชนไทย โดยเน้นบทบาทของพระมหากษัตริย์และประเพณีต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาจิตใจของคนไทย การศึกษาศีลธรรมถูกส่งต่อผ่านสายใยของวัด และการฟังธรรมยังเป็นส่วนหนึ่งที่หล่อหลอมให้เยาวชนมีจิตใจที่ดีงาม พร้อมทั้งยกย่องคุณค่าของจิตใจมากกว่ากาย เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเกิดใหม่ในสังคม

หัวข้อประเด็น

-ความสัมพันธ์ระหว่างบ้าน วัด โรงเรียน
-การปลูกฝังศีลธรรม
-บทบาทของพระมหากษัตริย์
-ประเพณีไทยและศีลธรรม
-การศึกษาจิตใจ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ภาพ แสดงความสัมพันธ์ของบ้าน วัด โรงเรียน ต่อการปลูกฝังศีลธรรม วัด พระภิกษุ บ้าน พ่อแม่ ครู โรงเรียน รุ่นลูกรุ่นหลานยุคปัจจุบัน แม้แต่พระมหากษัตริย์ไทยทุกๆ พระองค์ ก็ทรงเห็นถึงความสำคัญ ในการปลูกฝังศีลธรรม จึงทรงเป็นพุทธมามกะและทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก ให้การ สนับสนุนทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างต่อเนื่อง แม้การศึกษาในอดีตก็เรียนที่วัด เมื่อมีการสร้างโรงเรียนขึ้นโรงเรียนก็อยู่ในวัด การถ่ายทอดซึมซับศีลธรรม จึงเป็นสายใยที่เชื่อมใจให้เยาวชนของชาติ เป็นคนที่มีจิตใจที่ดีงาม คิดดี พูดดี ทำดี เป็นคนดีของสังคม อีกทั้งขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม ล้วนมีรากฐานเกี่ยวโยงให้ศีลธรรมฝังแน่นลึก เข้าไปในใจ ไม่ว่าจะเป็นประเพณีบวชพระภิกษุสามเณรซึ่งถือเป็นข้อปฏิบัติของชายทุกคน รวมทั้งการเข้าวัดฟังธรรมถืออุโบสถศีลเจริญภาวนาทุกวันพระ เป็นต้น เห็นได้ชัดเจนเลยว่าบรรพบุรุษของเราต่างให้ความสำคัญของจิตใจมากกว่ากาย ให้ น้ำหนักกับความสะดวกทางกายพอสมควรชั่วครั้งชั่วคราว แต่ฉกฉวยเอาเวลาส่วนใหญ่ทุ่มเท ไปกับการศึกษาความรู้เรื่องจิตใจเรื่องศีลธรรมให้มาก เพราะต่างตระหนักดีว่า คนเราตายแต่กายเนื้อ แต่ใจยังไม่สูญยังต้องเวียนว่ายตายเกิดอีก บทที่ 4 จั ก ร ธ ร ร ม ห ลั ก การพัฒนาตนเอง และฐานะทางเศรษฐกิจ... DOU 139
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More