สังคหวัตุ 4 และความสำคัญในชีวิต GB 304 สูตรสำเร็จการพัฒนาองค์กรและเศรษฐกิจ หน้า 196
หน้าที่ 196 / 263

สรุปเนื้อหา

สังคหวัตุ 4 ประกอบด้วย ทาน, ปิยวาจา, อัตถจริยา, และสมานัตตา ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์และการแบ่งปัน หากปราศจากหลักการเหล่านี้ ย่อมทำให้มนุษย์ขาดเพื่อนฝูงและการสนับสนุนซึ่งกันและกัน การมีสังคหวัตุ 4 ช่วยให้เกิดความสามัคคีและลดการแตกแยกในหมู่คณะ อีกทั้งยังมีหลักการป้องกันความเสื่อมด้วยการตรวจสอบตัวเองและสร้างกัลยาณมิตร

หัวข้อประเด็น

-สังคหวัตุ 4
-ความสำคัญของการแบ่งปัน
-การสร้างความสัมพันธ์ในสังคม
-หลักการป้องกันความเสื่อม
-บทบาทของกัลยาณมิตร

ข้อความต้นฉบับในหน้า

สังคหวัตุ 4 ประกอบด้วย 1. ทาน 2. ปิยวาจา 3. อัตถจริยา 4. สมานัตตา คนที่ไม่มีสังคหวัตถุ 4 นี้ ย่อมไม่สนใจในการแบ่งปันสิ่งของ เมื่อมีคนได้รับความเดือดร้อนก็ไม่ให้ความช่วยเหลือ ใช้คำพูดที่ไม่ถนอมน้ำใจคนฟัง ชอบนินทาว่าร้าย หรือวางตัวไม่สมกับที่เป็น คือ มีความประพฤติที่ไม่เหมาะสม ดังนั้น คนที่ อวดดื้อถือดี ย่อมไม่มีเพื่อนฝูงบริวารที่ดีคบค้าสมาคมด้วย คนที่เสื่อมจากบริวารนั้น เวลามีเรื่องที่ต้องการคนคอยช่วยเหลือย่อมไม่มีผู้ใดยื่นมือ เข้าช่วยเหลือ ไม่มีใครแนะนำสิ่งที่เป็นประโยชน์ให้ทั้งยังไม่ได้รับการสนับสนุนจากคนรอบข้าง อีกด้วย หมู่คณะใดก็ตามหากมีแต่คนอวดดื้อถือดี หรือมีคนอวดดื้อถือดีเป็นหัวหน้าแล้ว ก็จะ ทำให้เกิดความแตกแยกขึ้นในหมู่คณะนั้น เพราะจะเป็นพวกที่ชอบอวดเบ่ง จะทำอะไรตามใจ ตนเอง ทำให้หมู่คณะขาดระเบียบวินัย ในที่สุดหมู่คณะนั้นก็ล่มสลายลง 5.3 หลักการป้องกันความเสื่อม 1. หมั่นตรวจสอบการสร้างความดีของตนเอง แล้วเทียบเคียงกับการสร้างความดีที่ เป็นมาตรฐานของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ว่าตนเองมีข้อบกพร่องมากน้อยอย่างไร และควร ปรับปรุงแก้ไขด้วยวิธีการใด เพื่อหลีกเลี่ยงความเสื่อม และสร้างความเจริญให้มีขึ้นในตัว 2. หมั่นคบกัลยาณมิตรและเข้าไปปวารณาตัวให้ตักเตือนได้ในยามประมาท เป็นการ ลดทิฏฐิในตัวเอง ทั้งยังเป็นการฝึกฝนตนเอง และสร้างโอกาสที่จะถ่ายทอดคุณธรรมความรู้ ที่เขามีอยู่มาสู่ตัวเรา 3. หมั่นสร้างอริยทรัพย์ให้เกิดขึ้นภายในตนเพื่อสร้างหลักประกันความเสื่อม ทั้งใน โลกนี้และโลกหน้า บทที่ 5 ต้นเหตุ แ ห่ ง ค ว า ม วิ บั ติ ข อ ง ค วามเจริญรุ่งเรือง DOU 185
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More