การพัฒนาจิตใจและศีลธรรมในสังคม GB 304 สูตรสำเร็จการพัฒนาองค์กรและเศรษฐกิจ หน้า 47
หน้าที่ 47 / 263

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาพูดถึงการมุ่งเน้นการศึกษาที่เป็นประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพโดยขาดการพัฒนาจิตใจ ในสังคมที่ขาดครูสอนศีลธรรมจะทำให้ผู้คนมีความเป็นมนุษย์ทางกายเท่านั้น การบูชาบุคคลที่มีคุณธรรมถือเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งจะช่วยในการป้องกันความโลภและเพิ่มความรักต่อทุกคนในสังคม การสังเวยและบวงสรวงในพระพุทธศาสนามีความหมายเชิงศิลธรรมและช่วยให้เราแสดงความกตัญญูกตเวที รวมถึงการยอมรับและยกย่องคนดีที่เป็นแบบอย่างในสังคม

หัวข้อประเด็น

-การศึกษาและจิตใจ
-ศีลธรรมในสังคม
-การบูชาผู้มีคุณธรรม
-ความเป็นมนุษย์
-การสังเวยและบวงสรวง

ข้อความต้นฉบับในหน้า

การศึกษาในสถาบันต่าง ๆ มุ่งเน้นในด้านวัตถุเพื่อการประกอบอาชีพ แต่ขาดการมุ่ง พัฒนาในด้านจิตใจหากสังคมขาดครูสอนศีลธรรม คนในสังคมก็จะมีแต่ความเป็นมนุษย์ทางกาย เท่านั้น ด้วยเหตุนี้การสงเคราะห์สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ จึงเป็นหน้าที่ รับผิดชอบของทุกคน สาระสำคัญของสัมมาทิฏฐิข้อ 2 ที่ว่า ยัญที่บูชาแล้วมีผล คือ มีผลช่วยให้ตนเอง สามารถป้องกันและกำจัดความโลภได้อย่างกว้างขวางและยั่งยืนขึ้น ขณะเดียวกันก็สามารถ เพิ่มพูนความรักความปรารถนาดีต่อมวลมนุษย์ที่อยู่ร่วมโลกเดียวกันให้กว้างขวางยิ่ง ๆ ขึ้น สัมมาทิฏฐิข้อที่ 3 การสังเวยที่บวงสรวงแล้วมีผล 1) ความหมายของการสังเวยและบวงสรวง ผู้คนส่วนมากเห็นคำว่า สังเวยและบวงสรวงแล้ว ก็มักจะนึกถึงพิธีเซ่นสังเวยผีตามแนว ไสยศาสตร์ พิธีไหว้เจ้า หรือเซ่นตามธรรมเนียมจีน ในพระพุทธศาสนา หมายถึง การนำสิ่งของที่สมควรไปสักการะ หรือมอบให้ผู้ที่ควรบูชา มีผลดีจริง ควรทำอย่างยิ่ง บุคคลที่ควรบูชาก็คือ บุคคลที่เคยประกอบคุณงามความดีมาแล้วทั้งแก่เราและผู้อื่น แบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่ม คือ เป็นต้น 1. บุคคลที่มีคุณต่อตัวเราโดยตรง และท่านยังมีชีวิตอยู่ เช่น มารดา บิดา ครูอาจารย์ 2. บรรพบุรุษและญาติมิตรผู้ล่วงลับไปแล้ว 3. บุคคลที่มีศีลธรรมสูงส่ง เป็นแบบอย่างที่ดีของสังคม 4. สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ มุ่งมั่นพัฒนาสังคม 2) จุดมุ่งหมายของการบูชาบุคคลที่ควรบูชา 1. เพื่อแสดงความกตัญญูกตเวทีแก่ผู้ที่เคยมีพระคุณ 2. เพื่อแสดงการยอมรับนับถือ ยกย่อง บุคคลที่มีคุณงามความดี 3. เพื่อประกาศเกียรติคุณของท่านนั้นๆ ให้โลกรู้ และยึดถือเป็นแบบอย่าง 36 DOU สูตรสำเร็จ การพัฒนาองค์กร และเศรษฐกิจ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More