ข้อความต้นฉบับในหน้า
สามารถแยกแยะได้ว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิด สิ่งใดควรทำ สิ่งใดไม่ควรทำ อะไรที่เป็นหนทางไปสู่
ความเสื่อม และอะไรที่เป็นหนทางไปสู่ความเจริญ ดังนั้นปัญญาย่อมเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับ
ชีวิต
2) ต้นแบบในการสร้างปัญญา
การที่บุคคลใดจะสามารถมีปัญญาที่เพิ่มพูนขึ้นได้นั้น ต้องรู้จักที่จะหาบุคคลมา
เป็นต้นแบบของการสร้างปัญญา
เพราะตัวของเราไม่สามารถรู้ได้ว่าสิ่งที่เรารู้มานั้นเป็นสิ่งที่
ถูกต้อง หรือสมบูรณ์พร้อมแล้วหรือยัง และเราก็ยังไม่สามารถที่จะเข้าใจหรือรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ทั้งหมด
ด้วยตัวของเราเองได้ ดังนั้นการที่เราจะได้ปัญญานั้นต้องมีต้นแบบ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด และ
ต้นแบบนั้นก็คือ ครูบาอาจารย์ของเรานั่นเอง
ต้นแบบในการสร้างปัญญาที่ดีที่สุดก็คือ บัณฑิต และบัณฑิตที่สมบูรณ์ที่สุด ก็คือ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ในปัจจุบันนี้แม้ว่าเรายังไม่พบพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราก็สามารถแสวงหาปัญญาได้
จากพระธรรมคำสอนของพระองค์ที่ยังหลงเหลือไว้ โดยผ่านพระสงฆ์ที่เป็นผู้เก็บรักษาและ
ถ่ายทอดคำสอนของพระองค์
นอกจากนี้บุคคลที่เราสมควรนำมาเป็นต้นแบบก็คือ บัณฑิต เพราะ บัณฑิต คือผู้ที่
ดำเนินชีวิตด้วยปัญญา นอกจากนี้เราต้องแสวงหาความรู้ต่าง ๆ จากผู้รู้ที่รู้จริงในเรื่องนั้นๆ
ที่เราต้องการจะศึกษามาเป็นต้นแบบ ซึ่งอาจจะยังไม่สมบูรณ์พร้อม เราก็ควรใช้หลักที่
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้ไว้มาไตร่ตรองก่อนด้วยว่า เราควรที่จะนำเรื่องใดมาปฏิบัติ เรื่องใดที่
ไม่ควรนำมาปฏิบัติตาม
3) วิธีการสร้างปัญญา
เราสามารถสร้างปัญญาให้เกิดขึ้นในตัวของเรา โดยวิธีการในการสร้างปัญญา คือ
3.1) การฟัง คือ เราต้องรู้จักเลือกฟังสิ่งที่เป็นสาระ และรู้จักการจับสิ่งที่เป็น
สาระสำคัญในเรื่องที่ฟังให้ได้
3.2) การอ่าน คือ การรู้จักเลือกสื่อที่เราจะศึกษา นำมาอ่านเพื่อให้เราได้เข้าใจ
ในเรื่องนั้น ๆ มากขึ้น เพราะข้อมูลที่ถูกถ่ายทอดออกมาเป็นตัวอักษร จะผ่านการกลั่นกรองพินิจ
พิจารณามาอย่างละเอียดรอบคอบมากกว่าการพูด และสิ่งที่ออกมาให้เราได้อ่านนั้นย่อมต้อง
กลั่นเอาความคิดสติปัญญาของผู้เขียนมาไว้แล้ว ดังนั้นการอ่านจึงเป็นการย่นระยะเวลาในการ
98 DOU สูตรสำเร็จ การพัฒนาองค์กร และเศรษฐกิจ