การสร้างบารมีและการคบกัลยาณมิตร GB 304 สูตรสำเร็จการพัฒนาองค์กรและเศรษฐกิจ หน้า 199
หน้าที่ 199 / 263

สรุปเนื้อหา

การสร้างบารมีเป็นกระบวนการที่ต้องมีความมุ่งมั่นและใช้ชีวิตเป็นเดิมพัน โดยต้องพึ่งพาความช่วยเหลือจากเพื่อนหรือกัลยาณมิตรที่สามารถตักเตือนและให้คำปรึกษา เพื่อให้เราไม่หันเหจากเส้นทางที่ดี การเลือกครูที่ดี ฟังคำสอนของท่านอย่างตั้งใจ เป็นแนวทางในการพัฒนาตนเอง ปวารณาตัวให้พวกเขาเข้ามาช่วยเราสร้างความดี เพื่อให้ชีวิตดำเนินไปอย่างมีความสุขและมั่นคง

หัวข้อประเด็น

-การสร้างบารมี
-กัลยาณมิตร
-การฟังคำสอน
-การพัฒนาตนเอง
-การตักเตือนเพื่อความดี

ข้อความต้นฉบับในหน้า

การสร้างบารมีนั้นนอกจากตัวเราจะต้องเอาชีวิตเป็นเดิมพันแล้ว ยังต้องคำนึงถึง หมู่คณะของเราเมื่อเรารู้แล้วว่าสิ่งใดเป็นสิ่งที่ดีเราต้องบอกให้เขาได้รับทราบและกล้าที่จะแนะนำ ตักเตือนกัน เพื่อที่เราจะได้อยู่ร่วมกันในหมู่คณะนั้นอย่างมีความสุข เมื่อเราเปรียบเทียบการสร้างความดีของตัวเรากับมาตรฐานของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้ว เราก็จะรู้ว่าต้นแบบที่สมบูรณ์นั้นเป็นอย่างไร และเป็นได้โดยวิธีการใด เราก็จะคลาย ความอวดดื้อถือดีที่มีอยู่ในตัวเรา แล้วหมั่นฝึกฝนตนเองเพื่อกำจัดนิสัยที่ไม่ดีให้หมดไปจาก ตัวของเรา เพื่อที่สักวันหนึ่งเราก็จะกลายเป็นบุคคลที่เป็นมาตรฐานได้เช่นเดียวกับพระสัมมา สัมพุทธเจ้านั่นเอง 5.5 วิธีการคบกัลยาณมิตร และปวารณาตัวให้ตักเตือนได้ เมื่อรู้จักถึงวิธีการในการสร้างความดี และมาตรฐานที่เป็นต้นแบบในการสร้าง ความดีแล้ว เราก็ต้องหากัลยาณมิตรเพื่อปวารณาตัว ให้เขาสามารว่ากล่าวตักเตือนเรา เพื่อ เป็นการลดความอวดดื้อถือดีในตัวของเรา ทำให้เขาพร้อมที่จะให้คำปรึกษากับเราในการสร้าง ความดีอย่างเต็มที่ รวมทั้งคอยตักเตือนเราเมื่อเวลาเราพลาดพลั้งคิดหันเหออกจากเส้นทาง การสร้างความดี และคอยแนะนำหรือเป็นกำลังใจในยามที่เราพบเจอกับอุปสรรค เพื่อให้เรา ผ่านพ้นอุปสรรคต่าง ๆ ไปได้ด้วยดี และสร้างบารมีไปได้ตลอดรอดฝั่ง วิธีการคบกัลยาณมิตร มีดังนี้ 1.หาครูดีให้พบ คือ ไม่ว่าเราจะศึกษาเรื่องใดก็ตามหรือเพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความดี ที่มีอยู่ในตัวของเราก็ตาม เราจะต้องหาคนที่มีความรู้ความสามารถในด้านนั้นๆ มาเป็นครู ของเราให้ได้ ไม่เช่นนั้นแล้วโอกาสที่จะผิดพลาดหรือล้มเหลวก็มีมากตามมาด้วยเช่นเดียวกัน และนอกจากนี้ถ้าหาครูผิดยังอาจทำให้เราหลุดออกไปนอกเส้นทางของการแสวงหาความรู้ หรือเพิ่มพูนความดีในตัวของเราได้ 2. ฟังคำท่านให้ชัด คือ เมื่อท่านพูดจา อบรมสั่งสอน หรือว่ากล่าวตักเตือนเราในเรื่อง ใดก็ตาม ต้องตั้งใจฟังด้วยความเคารพ ไม่ดูหมิ่น และรวมทั้งไม่จ้องจับผิดท่าน เพราะการที่ ท่านใช้เวลามาแนะนำเรานั้นไม่ใช่โอกาสที่จะหาได้ง่ายนัก ดังนั้นเราจึงต้องให้ความสนใจ และ ใส่ใจในคำของท่านทุกคำด้วยความเคารพ เพื่อที่จะสามารถถ่ายทอดความรู้และความดีที่มีอยู่ ในตัวท่านมาสู่เราให้ได้มากที่สุด รวมทั้งต้องจับประเด็นหลักการวิธีการปฏิบัติอย่างชัดเจนให้ได้ 188 DOU สูตรสำเร็จ การพัฒนาองค์กร และเศรษฐกิจ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More