ทำไมจึงต้องแบ่งปันกัน GB 304 สูตรสำเร็จการพัฒนาองค์กรและเศรษฐกิจ หน้า 46
หน้าที่ 46 / 263

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงความสำคัญของการแบ่งปันในสังคม โดยเน้นว่าการแบ่งปันช่วยป้องกันการอยู่แบบตัวใครตัวมัน และลดการเอาเปรียบในสังคม นอกจากนี้ยังแสดงถึงประโยชน์ของการแบ่งปันในการสร้างมิตรภาพและความปรารถนาดีระหว่างกัน การบูชายัญหรือการให้ความช่วยเหลือกลุ่มชนที่ประสบปัญหายังถูกกล่าวถึงว่าเป็นการสังคมสงเคราะห์เพื่อช่วยให้ผู้อื่นสามารถใช้ชีวิตอยู่ได้และพัฒนาตนเองได้ในสังคม ญาติโยมยังมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนพระภิกษุสงฆ์ในการเผยแผ่ธรรมะเพื่อให้สังคมอยู่ในสัมมาทิฏฐิ

หัวข้อประเด็น

-ความสำคัญของการแบ่งปัน
-ประโยชน์ของการแบ่งปัน
-การบูชายัญ
-การช่วยเหลือในสังคม
-สัมมาทิฏฐิ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

2) ทำไมจึงต้องแบ่งปันกัน จุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อป้องกันความคิดโลภ และแสดงพฤติกรรมไร้น้ำใจ อันจะนำไปสู่ การผิดศีลและผิดกฎหมาย การแบ่งปันอย่างถูกวิธีจึงเป็นไปเพื่อ 1) ป้องกันการอยู่แบบตัวใครตัวมัน 2) ป้องกันปัญหามือใครยาวสาวได้สาวเอาของผู้มีความรู้ความสามารถมากกว่า 3) ป้องกันการเอาเปรียบ เบียดเบียนผู้ด้อยกว่า 4) ป้องกันการกักตุนสินค้าจำเป็นไว้กอบโกยประโยชน์ โดยไม่คำนึงถึงความเดือด ร้อนของสังคม ประโยชน์ของการแบ่งปันในสังคม ย่อมทำให้เกิดมิตรภาพของความเอื้ออาทร หากแม้ จะมีความขัดแย้งในสังคม ก็ง่ายต่อการประนีประนอม เพราะมีความเป็นมิตรต่อกัน ดังที่พระ สัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า ผู้ให้ย่อมผูกมิตรไว้ได้ สาระสำคัญของสัมมาทิฏฐิข้อที่ 1 ที่ว่า ทานที่ให้แล้วมีผล คือ มีผลให้เราสามารถป้องกัน และกำจัดความตระหนี่ และความเห็นแก่ตัวออกจากใจได้ ขณะเดียวกันก็เป็นการเพิ่มพูน ความปรารถนาดีต่อกันและกันระหว่างผู้ให้และผู้รับ สัมมาทิฏฐิข้อที่ 2 ยัญที่บูชาแล้วมีผล 1) ความหมายของการบูชายัญ คำว่า “บูชายัญ” ตามนัยที่กล่าวนี้หมายถึง สังคมสงเคราะห์ คือ การให้ความช่วยเหลือ กลุ่มชนในสังคมที่ประสบปัญหาทางกายภาพ ปัญหาทางเศรษฐกิจ หรือปัญหาจากภัยธรรมชาติ เป็นต้น เพื่อช่วยเหลือกลุ่มบุคคลเหล่านี้อย่างน้อย 3 ประการ คือ 1. ให้สามารถมีชีวิตอยู่ได้ 2. ให้โอกาสได้รับการศึกษาพัฒนาให้เป็นพลเมืองดีของชาติ 3. สามารถแก้ปัญหาเร่งด่วนที่ตนกำลังเผชิญอยู่ได้สำเร็จ นอกจากนี้ยังมีสมณพราหมณ์ คือ พระภิกษุสงฆ์ที่ทำหน้าที่เผยแผ่ธรรมะ เป็นครูสอน ศีลธรรมให้สังคม ให้ตั้งอยู่ในสัมมาทิฏฐิ ซึ่งท่านจำเป็นต้องอาศัยจตุปัจจัยจากญาติโยม เพื่อให้ ปลอดกังวลและมีเวลาในการศึกษา ประพฤติปฏิบัติธรรม และเผยแผ่ศีลธรรมแก่คนในสังคม บทที่ 2 ฆราวาสธรรม คุณสมบัติของผู้ชนะความจน - ความเจ็บ - ความโง่ DOU 35
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More