การให้ทานและผลบุญ GB 304 สูตรสำเร็จการพัฒนาองค์กรและเศรษฐกิจ หน้า 243
หน้าที่ 243 / 263

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับการให้ทานและผลที่จะได้รับในภพชาติหน้าซึ่งขึ้นอยู่กับการกระทำของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการให้ทานด้วยตนเองหรือการชักชวนผู้อื่น โดยมีตัวอย่างจากเรื่องราวของบัณฑิตผู้ทำให้เห็นถึงความสำคัญของการแบ่งปันและการบริจาคในพระพุทธศาสนา เมื่อบัณฑิตต้องการให้มีทั้งโภคทรัพย์และบริวารสมบัติ จึงชักชวนประชาชนให้ร่วมบริจาค เพื่อถวายพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระสาวก จากนั้นเกิดเหตุการณ์ที่แสดงถึงมุมมองและทัศนคติของเศรษฐีที่ไม่เห็นคุณค่าในการให้ทาน ซึ่งทำให้เขาเชื่อว่าการบริจาคของตนมีน้อยและอย่างไม่เต็มใจ กระทั่งนำไปสู่การแก้ไขและการรับรู้ถึงผลบุญที่เกิดขึ้นจากการให้ โดยเฉพาะเมื่อมีความตั้งใจดีในการแบ่งปัน

หัวข้อประเด็น

-การให้ทาน
-โภคทรัพย์
-บริวารสมบัติ
-ผลบุญ
-คำสอนพระพุทธเจ้า

ข้อความต้นฉบับในหน้า

“คนบางคนให้ทานด้วยตนเอง แต่ไม่ชักชวนผู้อื่น ไม่ว่าจะเกิดภพชาติใด ๆ ย่อมได้แต่ โภคทรัพย์ ไม่ได้บริวารสมบัติ คนบางคนไม่ให้ทานด้วยตนเอง แต่ชักชวนผู้อื่น ไม่ว่าจะเกิดภพชาติใด ๆ ย่อมไม่ได้ โภคทรัพย์สมบัติ แต่ได้บริวารสมบัติ คนบางคนไม่ให้ทานด้วยตนเอง และไม่ชักชวนผู้อื่น ไม่ว่าจะเกิดภพชาติใด ๆ ย่อมไม่ได้ ทั้งโภคทรัพย์สมบัติ และบริวารสมบัติ คนบางคนให้ทานด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นด้วย ไม่ว่าจะเกิดภพชาติใด ๆ ย่อมได้ทั้ง โภคทรัพย์สมบัติ และบริวารสมบัติ” บัณฑิตคนหนึ่ง พอฟังพระธรรมเทศนาจบแล้ว ต้องการจะให้ได้สม ด้สมบัติทั้งสอง จึง เข้าไปกราบทูลขอถวายภัตตาหารแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระสาวกทั้งหมดในวันรุ่งขึ้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับคำอาราธนานั้น เขาดีใจมาก เที่ยวป่าวประกาศไปตามหมู่บ้าน ร้าน ตลาด ชักชวนให้บริจาคข้าวสาร และสิ่งของต่าง ๆ ที่จะทำอาหารถวายพระ ตามกำลังศรัทธา อย่าให้เดือดร้อนเขาเที่ยวชักชวนไปเรื่อยๆ จนกระทั่งมาถึงบ้านของเศรษฐีคนหนึ่ง พอเศรษฐีได้ยินคำชักชวนก็คิดว่า “เจ้าคนนี้ เมื่อไม่สามารถวายภัตตาหารแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระสาวกทั้งหมดได้ ก็น่าจะถวาย ตามกำลังของตัวเอง ไม่น่าที่จะมาเที่ยวชักชวนคนอื่นทั่วไปอย่างนี้” เพราะคิดดังนี้ เวลาให้จึงให้แบบขัดไม่ได้ คือใช้นิ้ว 3 นิ้วหยิบของให้อย่างละนิดอย่าง ละหน่อย ข้าวสารนิด ถั่วเขียวหน่อย น้ำผึ้ง น้ำอ้อยก็เอียงขวดให้ติดปากหม้อ ให้หยดลงเพียง 2- 3 หยดเท่านั้น เพราะเหตุที่เวลาให้มือเบาอย่างนี้ ชาวบ้านจึงตั้งฉายาให้ว่า “เศรษฐีตีนแมว” ชายผู้นี้เป็นบัณฑิต เมื่อได้รับของจากเศรษฐี ก็แยกของไว้ต่างหาก ไม่ได้รวมกับของที่ รับมาจากคนอื่น เศรษฐีเห็นดังนั้นจึงคิดว่า “ทำไมหนอ เจ้าคนนี้จึงแยกของของเราไว้ คงเอา เราไปเที่ยวประจานเป็นแน่” จึงให้คนใช้ตามไปดูว่าเขาเอาของนั้นไปทำอะไร บัณฑิตนั้นเอา ของเศรษฐีผสมลงในภาชนะทุกๆ ภาชนะที่ของเหมือนกัน พร้อมกับกล่าวว่า “ขอผลบุญอัน ยิ่งใหญ่จงมีแก่เศรษฐีเถิด” คนรับใช้จึงนำเรื่องราวที่เกิดขึ้นไปบอกนาย ดังนั้นในวันรุ่งขึ้น เศรษฐีได้เหน็บกริชติดตัวไป ตั้งใจว่าถ้าชายคนนี้กล่าวโทษมาถึง ตนก็จะฆ่าชายคนนั้นเสีย เศรษฐีได้ไปแอบยืนอยู่ในที่แห่งหนึ่ง เมื่อถึงเวลาถวายอาหารพระสงฆ์ ชายผู้เป็นบัณฑิตได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า 232 DOU สูตรสำเร็จ การพัฒนาองค์กร และเศรษฐกิจ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More