ความเลื่อมใสในการแต่งกายและธรรมะ GB 304 สูตรสำเร็จการพัฒนาองค์กรและเศรษฐกิจ หน้า 155
หน้าที่ 155 / 263

สรุปเนื้อหา

ในบทความนี้ จะพูดถึงความสำคัญของการแต่งกายที่มีความสะอาดและสุภาพเรียบร้อย พร้อมกับไม่ฟุ่มเฟือย ปรับเข้ากับกาลเทศะ การที่คนเรามีใจสะอาดจะช่วยในการถ่ายทอดธรรมะ ที่สำคัญคือการไม่โลภ ไม่ผูกพยาบาท และการเห็นดีเห็นชอบกับหลักธรรม โดยมุ่งหวังให้สามารถให้อภัยและมองโลกในแง่ดี เพื่อสร้างสังคมที่สงบสุข การแต่งกายและธรรมะมีความสัมพันธ์ที่ทำให้เกิดความผ่องแผ้ว มีประโยชน์ต่อทั้งตนเองและสังคมโดยรวม.

หัวข้อประเด็น

-ความสำคัญของการแต่งกาย
-คุณสมบัติในการแต่งกายที่เหมาะสม
-ใจสะอาดในการถ่ายทอดธรรมะ
-การมีน้ำใจและการให้อภัย
-ความสัมพันธ์ระหว่างการแต่งกายและธรรมะ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

3. ความเลื่อมใสในการแต่งกาย 1) มีความสะอาด คือ เสื้อผ้าไม่สกปรกเลอะเทอะ ไม่มีกลิ่นเหม็นอับ สีไม่หม่นหมอง ไม่มีคราบไคลฝังแน่น ยั่วยวน 2) มีความสุภาพเรียบร้อย คือ ทำให้เกิดความสงบใจต่อผู้พบเห็น ไม่นุ่งชั่วห่มชั่ว 3) ไม่ฟุ่มเฟือยสุรุ่ยสุร่าย คือ ไม่สวมใส่เสื้อผ้าที่ใช้จ่ายเกินฐานะความเป็นอยู่ ไม่ แต่งกายเพื่ออวดความร่ำรวย อวดแก้วแหวนเงินทองราคาแพง ซึ่งจะเป็นสาเหตุให้ผู้สวมใส่เป็น อันตรายจากโจรผู้ร้ายได้ 4) ถูกกาลเทศะ คือ ต้องดูความเหมาะสมของเวลาและสถานที่ด้วย เช่น ถ้าเป็น งานศพ ก็ต้องสวมใส่ชุดขาว ไม่ใช่ใส่เสื้อผ้าสีฉูดฉาด จะทำให้ผู้อื่นตำหนิได้ว่าไม่ให้เกียรติ เจ้าของงาน เป็นต้น 4. ความเลื่อมใสในธรรมะที่ได้ฟัง ผู้ที่จะถ่ายทอดธรรมะได้น่าเลื่อมใสนั้น ต้องฝึกฝนการเล่าธรรมะของตนเองมาตาม ขั้นตอนดังนี้ 1) มีใจสะอาด 1.1) ไม่คิดโลภอยากได้ของใคร คือ ไม่เพ่งเล็งที่จะเอาทรัพย์ของคนอื่นในทาง ดเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ทุจริต แต่ให้คิดเอื้อเฟื้ เจตนารมณ์ของความมีใจสะอาดข้อนี้คือต้องการให้คนเราเคารพในสิทธิข้าวของผู้อื่น มีจิตใจสงบไม่ฟุ้งซ่านไหวกระเพื่อมไปเพราะความอยากได้ทรัพย์ของผู้อื่น ทำให้มีใจผ่องแผ้ว มี ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ พร้อมที่จะสร้างประโยชน์แก่ส่วนรวม 1.2) ไม่คิดผูกพยาบาทใคร คือ ไม่ผูกใจเจ็บ ไม่คิดอาฆาตล้างแค้น ไม่จองเวร มีใจเบิกบาน แจ่มใสไม่ขุ่นมัว ไม่เกลือกกลั้วด้วยโทสะจริต แต่ให้คิดให้อภัย เจตนารมณ์ของความมีใจสะอาดข้อนี้ คือต้องการให้คนเรารู้จักให้อภัยทาน ไม่คิด ทำลาย ทำให้จิตใจสงบผ่องแผ้วเกิดความคิดสร้างสรรค์ 1.3) ไม่เห็นผิดจากคลองธรรม คือไม่คิดแย้งกับหลักธรรม เช่น มีความเห็นที่เป็น สัมมาทิฏฐิพื้นฐาน 10 ประการ คือ 144 DOU สูตรสำเร็จ การพัฒนาองค์กร และเศรษฐกิจ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More