คุณสมบัติที่สำคัญของผู้บริหารและนักขายที่ดี GB 304 สูตรสำเร็จการพัฒนาองค์กรและเศรษฐกิจ หน้า 89
หน้าที่ 89 / 263

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงคุณสมบัติที่สำคัญของผู้บริหารซึ่งประกอบด้วยความขยัน, การตรวจตรางาน, ความอดทนในการแก้ปัญหา, และการตรวจสอบบัญชี ในส่วนของนักขายมีความสำคัญในการรักษาอารมณ์ให้แจ่มใสเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า นอกจากนี้ยังเน้นถึงวิธีการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและการป้องกันปัญหาในการทำธุรกิจ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนมีผลต่อการประสบความสำเร็จในธุรกิจ

หัวข้อประเด็น

-คุณสมบัติของผู้บริหาร
-การจัดการเวลา
-ความอดทนในการแก้ปัญหา
-การขายและนักขายที่ดี

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ต้องมีปัญหา และอุปสรรคให้ต้องแก้ไขอยู่เสมอ ผู้บริหารต้องมีความ “อดทน” เป็นนิสัยจึงจะ สามารถบริหารได้สำเร็จ หน้าที่หลักของผู้บริหาร มีอยู่ 4 ประการ คือ 3.1) ขยันทำงานตามเวลา ผู้บริหารต้องมีนิสัยตรงต่อเวลา มีวินัยในเรื่องเวลา รู้จักจัดการงานตามเวลา งานใด สำคัญก็ต้องทำก่อน งานใดยังไม่สำคัญก็ต้องรอไปก่อน และเมื่อถึงเวลาต้องทำงานใด ก็ต้อง ทำงานนั้นทันที ไม่ควรผัดวันประกันพรุ่ง เป็นดินพอกหางหมู สุดท้ายก็ไม่ได้ทำงาน 3.2) หมั่นตรวจตรางานให้เรียบร้อย ผู้บริหารต้องมีนิสัยไม่ประมาท คือ รู้จักสังเกต ไม่ปล่อยผ่านในสิ่งแม้เพียงเล็กน้อย เมื่อ พบสิ่งผิดปกติก็ต้องรีบแก้ไขในทันทีโดยไม่ปล่อยผ่านไปเฉย ๆ หรือทำงานแบบสุกเอาเผากิน ผักชีโรยหน้าเป็นต้น 3.3) อดทนกับการแก้ปัญหา ผู้บริหารต้องมีนิสัยอดทน เป็นคนสู้ปัญหา พบปัญหาแล้วแก้ไข ไม่ใช่หนีปัญหาไม่หา ทางแก้ไข และรู้จักป้องกันปัญหาไม่ให้เกิดขึ้นอีก ดังนั้น ความอดทนเท่านั้นจึงจะเอาชนะ ปัญหาอุปสรรคได้ 3.4) หมัน หมั่นตรวจตราบัญชี ผู้บริหารต้องมีนิสัยละเอียดรอบคอบ หมั่นตรวจสอบบัญชีการเงินทั้งรายรับ รายจ่าย รายเหลือ ว่ามีการขาดทุน กำไร อย่างไรจะได้สามารถวางแผน แก้ไข ป้องกัน ปัญหาการเงิน ของตนได้ทันที 4) การขาย จะค้าขาย ทำธุรกิจได้กำไร ขาดทุน มากน้อยเพียงใดอยู่ที่สามารถปิดการขายได้มาก น้อยเพียงใด ดังนั้น คุณสมบัติพื้นฐานของนักขายที่ดี ที่ทุกคนต้องมี คือ จาคะ มีลักษณะ 4 ประการ คือ 4.1) รู้จักรักษาอารมณ์ให้แจ่มใส ผู้ขายต้องมีอารมณ์ยิ้มแย้มแจ่มใสอยู่เสมอ รอยยิ้มจะสร้างความคุ้นเคยให้กับลูกค้า ให้ รู้สึกสนิทสนมและเป็นมิตร จะได้รู้สึกไว้เนื้อเชื่อใจ แม้ลูกค้าจะซื้อหรือไม่ซื้อก็ตาม ก็ต้องยิ้มแย้ม 78 DOU สูตรสำเร็จ การพัฒนาองค์กร และเศรษฐกิจ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More