การพัฒนาชุมชนด้วยจิตสำนึกและธรรมะ GB 304 สูตรสำเร็จการพัฒนาองค์กรและเศรษฐกิจ หน้า 35
หน้าที่ 35 / 263

สรุปเนื้อหา

บทความนี้ได้พูดถึงแนวทางการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนผ่านการใช้ธรรมะ รวมถึงการช่วยเหลือผู้อื่นและการแบ่งปันทรัพย์สินเพื่อพัฒนาสังคม การสร้างเครือข่ายคนดี และการศึกษาเชิงพุทธให้เกิดผลสำเร็จในชีวิตและสังคม เพื่อสร้างความมั่งคั่งและความปลอดภัยให้แก่ชีวิตและทรัพย์สินของแต่ละคน โดยอ้างอิงถึงคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ให้ความสำคัญกับการทำความดีร่วมกันและการพัฒนาท้องถิ่นให้มีความเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน

หัวข้อประเด็น

-หลักธรรมในการพัฒนาชุมชน
-การแบ่งปันทรัพย์ในสังคม
-เครือข่ายคนดี
-การศึกษาพุทธในท้องถิ่น
-การพัฒนาชีวิตให้สำเร็จตามแนวทางพุทธ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ภาวนา 3. จาคะสัมปทา คือ การสละสิ่งของของตนเพื่อประโยชน์ของผู้อื่นด้วยความเต็มใจ 4. ปัญญาสัมปทา คือ การกลั่นจิตใจให้บริสุทธิ์จากการควบคุมของกิเลสด้วยการทำ 1.4.7 ต้องพัฒนาตนเองและฐานะทางเศรษฐกิจให้เจริญรุ่งเรืองอย่างยั่งยืน แม้ว่าบุคคลนั้นจะสร้างตัวสร้างฐานะจนสามารถเอาชนะความจน -เจ็บ - โง่ ได้แล้ว ก็ตามหากต้องการทำความดีให้บรรลุเป้าหมายชีวิตขั้นสูงสุดแล้วยังต้องรู้จักแบ่งทรัพย์ที่หามาได้ นั้นมาพัฒนาท้องถิ่นให้เหมาะแก่การสร้างคนดีอีกด้วย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือผู้อื่น ให้สามารถสร้างตัวสร้างฐานะตามพุทธวิธีได้เหมือนกับตนเองเพราะธรรมชาติของคนนั้นมีความ ขาดแคลนเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว ถ้าเราเจริญก้าวหน้าอยู่คนเดียว แต่ไม่ช่วยให้คนอื่นเจริญก้าวหน้า ด้วย เขาก็คงไม่มาทำดีกับเราด้วย ในทางตรงกันข้าม ถ้าเราดีแล้วเราก็มีน้ำใจช่วยให้เขาดีตามมา ด้วย นอกจากจะได้พวกพ้องมาร่วมสร้างความดีให้ยิ่งๆ ขึ้นไปแล้ว ยังได้ความมั่นคงปลอดภัย ให้แก่ชีวิตและทรัพย์สินของตนเองเพิ่มขึ้นอีกด้วย ดังนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงสอนให้เราแบ่งทรัพย์ที่หามาได้นั้น ไปเป็นทุนใน การสร้างหมู่คณะเพื่อร่วมกันพัฒนาท้องถิ่นให้เกิดความเจริญ 4 ประการ คือ 1. ปฏิรูปเทส 4 การเพียรสร้างท้องถิ่นให้เหมาะแก่การทำความดีอย่างเต็มที่ คือ เพียร สร้างถิ่นที่อยู่ให้เหมาะสมสำหรับคนดีได้อยู่อาศัย ให้คนดีได้ความสะดวกในการสร้างตัว สร้าง ฐานะ และทำความดีให้มากยิ่งขึ้นไป 2. สัปปุริสูปสังเสวะ การเพียรสร้างเครือข่ายคนดีให้เกิดขึ้นในท้องถิ่น คือ เพียรฝึกฝน อบรมตนเองให้เป็นคนดียิ่ง ๆ ขึ้นไป เพียรเข้าไปรู้จักคบหากับคนดีมีศีลธรรมในท้องถิ่นให้ มากที่สุด เพียรส่งเสริมให้คนดีสามารถแนะนำสั่งสอนอบรมผู้อื่นให้เป็นคนดีได้อย่างเต็มที่ เพียรรักษาเครือข่ายคนดีให้มั่นคงด้วยการรวมกลุ่มสมาชิกให้รู้จักกันอย่างทั่วถึงและมีกิจกรรม สร้างความสามัคคีกลมเกลียว 3. อัตตสัมมาปณิธิ การเพียรสร้างการศึกษาเชิงพุทธให้เกิดขึ้นในท้องถิ่น คือ การสอน ให้มีสัมมาทิฏฐิในระดับที่เข้าใจจุดมุ่งหมายคำสอนของพระพุทธศาสนา และปลูกฝังให้มี ความเพียรอย่างมั่นคงไม่คลอนแคลนที่จะทำเป้าหมายชีวิตของตนให้สำเร็จทั้ง 3 ระดับ คือ เป้าหมายชีวิตขั้นต้น เป้าหมายชีวิตขั้นกลาง และเป้าหมายชีวิตขั้นสูงสุด 24 DOU สูตรสำเร็จ การพัฒนาองค์กร และเศรษฐกิจ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More