เศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ: หลักการสร้างฐานะเพื่อความสุข GB 304 สูตรสำเร็จการพัฒนาองค์กรและเศรษฐกิจ หน้า 102
หน้าที่ 102 / 263

สรุปเนื้อหา

บทความนี้นำเสนอแนวทางในการใช้ชีวิตที่เต็มไปด้วยความสุข โดยยกตัวอย่างหลักธรรมของพระพุทธเจ้า ซึ่งเน้นการมีศรัทธา การตั้งเป้าหมายในชีวิตเพื่อสร้างบารมี และการรู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร ตามหลักเศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ โดยชี้ให้เห็นว่าควรศึกษาประวัติของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อเป็นต้นแบบในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในชีวิต ทำให้หลุดพ้นจากทะเลทุกข์ในวัฏสงสารและนำไปสู่ความสำเร็จในชีวิตที่แท้จริง

หัวข้อประเด็น

-การสร้างบารมี
-การมีศรัทธา
-เศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ
-การใช้ชีวิตอย่างมีสติ
-การประมาณในการบริโภคอาหาร

ข้อความต้นฉบับในหน้า

หากลุ่มหลงมัวเมาไปกับสิ่งเหล่านี้เมื่อใด เวลา ชีวิต ทรัพย์ ญาติ มิตร ก็จะหมดสิ้นไป 5.2) รู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร ไม่เห็นแก่กิน เห็นแก่ปากแก่ท้อง เพราะ จะเป็นเหตุให้เกิดโรคมากมายตามมา ทำให้เป็นคนเห็นแก่นอน คนกินมากย่อมนอนมาก เพราะอิ่มจัดจึงง่วงเหงาหาวนอน กลายเป็นคนขี้เกียจสันหลังยาว การงานก็ไม่ทำ ไม่มีความขยัน 5.3) มีความเพียรตลอดชีวิตในทุกเรื่องราว ตั้งแต่การศึกษา การสร้างตัว สร้าง ฐานะ สร้างความดี สร้างบุญบารมี 3.11 ทำอย่างไรจึง “มีศรัทธา” ศรัทธาเป็นลักษณะของผู้มีใจใสสว่าง ประกอบด้วยปัญญา สามารถตรองตามคำสอน ของพระพุทธองค์ได้ จนกระทั่งเชื่อสนิทใจ เกิดความเลื่อมใสขึ้นในใจ จึงพร้อมปฏิบัติตาม จน กระทั่งพ้นทุกข์ การสั่งสมศรัทธาจึงเป็นเรื่องของผู้ที่มีสัมมาทิฏฐิในระดับที่เกิดมุมมองของชีวิต ในเรื่องต่อไปนี้ 1) ต้องรู้สถานการณ์ของชีวิตตามความเป็นจริง สถานการณ์ของชีวิตมนุษย์ก็คือ ทุกคนล้วนอยู่ท่ามกลางทะเลทุกข์ ตราบใดยังไม่หมด กิเลสก็ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดกันต่อไป ยิ่งเวียนว่ายตายเกิดนานเท่าไหร่ ก็ทุกข์นานเท่านั้น ชีวิตของคนในโลกนี้ จึงมีอยู่ 3 พวก พวกหนึ่งลอยคออยู่เฉยๆ ท่ามกลางกระแสกิเลส วันหนึ่งก็ ต้องโดนกระแสกิเลสพัดจมลงไปสู่ก้นทะเลทุกข์ อีกพวกหนึ่งว่ายตามกระแสกิเลส ยิ่งว่ายเร็ว เท่าไหร่ ยิ่งจมลงท่ามกลางก้นทะเลทุกข์เร็วเท่านั้น แต่อีกพวกหนึ่งพยายามว่ายทวนกระแสกิเลส พวกนี้ยิ่งว่ายมากเท่าไหร่ ยิ่งเข้าใกล้ฝั่ง มีสิทธิรอดพ้นจากการจมอยู่ใต้ก้นทะเลทุกข์ เมื่อทราบ สถานการณ์ชีวิตเช่นนี้แล้ว ก็ต้องแสวงหาบุคคลที่ข้ามพ้นทะเลทุกข์นี้ได้สำเร็จ เพื่อศึกษาว่า ท่านข้ามไปได้อย่างไร เราจะได้นำมาศึกษาเป็นต้นแบบ และท่านผู้นั้นย่อมเป็นใครไปไม่ได้ นอกจาก “พระสัมมาสัมพุทธเจ้า” 2) ต้องหมั่นศึกษาประวัติการสร้างบารมีของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า การที่เราจะข้ามพ้นการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารไปได้ เราก็ต้องหมั่นศึกษาการ สร้างบารมีของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นเพื่อที่จะได้รู้ว่าต้นแบบที่ถูกต้องนั้น ท่านทำอย่างไรจึง ข้ามพ้นไปได้ เพื่อเราจะได้ออกแบบชีวิตได้ถูกต้องและปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง รวมทั้งเมื่อเราพบ เจอกับปัญหาหรืออุปสรรคใด ๆ เราก็จะมีวิธีแก้ไขอุปสรรคต่าง ๆ ที่เราต้องเผชิญ บทที่ 3 เศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ หลักการสร้างฐานะเพื่อความสุข... DOU 91
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More