ข้อความต้นฉบับในหน้า
การพัฒนาใจให้เจริญไปสู่ความเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานเช่นดั่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และก่อให้
เกิดความสุขในการอยู่ร่วมกันในสังคม
4.6.2 จุดมุ่งหมายของวัฒนธรรมชาวพุทธ
จุดมุ่งหมายของวัฒนธรรมชาวพุทธ มี 3 ประการ
1. มุ่งเพิ่มพูนปัญญา เพื่อกำจัดความไม่รู้
2. มุ่งเพิ่มพูนความบริสุทธิ์ เพื่อกำจัดความทุกข์
3. มุ่งเพิ่มพูนความกรุณา เพื่อช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นความไม่รู้และความทุกข์
4.6.3 ปัญหาของการไม่มีวั
ไม่มีวัฒนธรรม
ตามปกติของปุถุชนนั้น จิตใจยังห่อหุ้มด้วยกิเลสอย่างหนาแน่น ครั้นเมื่อมาอยู่ร่วมกัน
เป็นสังคม ต่างคนต่างก็อดทำตามใจกิเลสของตัวไม่ได้ คือพวกหนึ่งก็คิดเอาแต่ได้ฝ่ายเดียว อีก
พวกหนึ่งก็ขาดวินัยเอาแต่ใจตนเอง อีกพวกหนึ่งก็จ้องจับผิดขาดความเคารพเกรงใจกัน ทำให้
การอยู่ร่วมกันนั้นปราศจากความสงบสุข มีแต่ความหวาดระแวง มีแต่ลงมือฆ่าแกงปล้นชิงไม่
เว้นแต่ละวัน ไม่มีการตัดสินด้วยเหตุผล มีแต่ใช้กำลังเข้าห้ำหั่นกันด้วยอำนาจกิเลสตลอดเวลา
ซึ่งชีวิตเยี่ยงนี้ย่อมไม่แตกต่างจากหมูหมากาไก่เท่าใดนัก
เมื่อสถานการณ์เป็นอย่างนี้ จึงมีผู้มีปัญญาพวกหนึ่งมองเห็นว่า ชีวิตของมนุษย์ไม่ควร
จะป่าเถื่อนเช่นเดียวกับสิงสาราสัตว์ จำต้องหาแนวทางที่ทำให้มนุษย์อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขได้
ในที่สุด ก็ต้องมีการกำหนดข้อปฏิบัติในชีวิตประจำวันที่ก่อให้เกิดความเป็นสุขในการอยู่ร่วมกัน
และเป็นการสร้างเอกลักษณ์ของเผ่าพันธุ์ขึ้นมา ทั้งนี้เพื่อยกฐานะของมนุษย์ให้อยู่เหนือจาก
สัตว์โลกทั่วไป เมื่อมีการทำข้อตกลงในหลักการอย่างนี้แล้ว ก็มีการสร้างรูปแบบของการ
ดำเนินชีวิตที่แตกต่างจากสัตว์ขึ้นมา จากนั้นก็มีการพัฒนาและถ่ายทอดมาตามลำดับๆ จาก
รุ่นปู่ย่าตาทวดไปสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน แล้วก็เรียกสิ่งที่สืบทอดปฏิบัติกันมาตามวิถีชีวิตประจำ
เผ่าพันธุ์ของตัวว่า “วัฒนธรรม” (Culture) และเรียกคนในเผ่าที่ยอมรับเอาข้อปฏิบัติประจำ
เผ่าพันธุ์ของตนไปปฏิบัติว่า “ผู้มีวัฒนธรรม”
เนื้อหาของวัฒนธรรมส่วนใหญ่ในโลกนี้จะเกี่ยวข้องอยู่กับเรื่องพื้นฐานในการดำเนินชีวิต
เช่น การแสวงหาปัจจัย 4 การค้าขาย การแพทย์ การแต่งกาย การรับประทานอาหาร การ
สร้างที่อยู่อาศัย การรักษาโรค ภาษาศาสตร์ การร่ายรำ การเพาะปลูก การทอผ้า เป็นต้น ซึ่ง
บทที่ 4 จั ก ร ธ ร ร ม ห ลั ก การพัฒนาตนเอง และฐานะทางเศรษฐกิจ... DOU 167