ข้อความต้นฉบับในหน้า
1) ตนเองต้องเป็นคนดี กล่าวคือ จะต้องมีสัมมาทิฏฐิเข้าไปอยู่ในใจอย่างมั่นคง คือมี
คุณสมบัติของกัลยาณมิตร หรือมีความเป็นมิตรแท้อย่างสมบูรณ์พร้อม ทั้งนี้เพราะ หากตนเอง
ยังไม่เป็นคนดี ยังมีความเห็นผิดหรือเป็นมิจฉาทิฏฐิอยู่ ก็เป็นไปไม่ได้ที่จะสร้างคนอื่นให้เป็น
คนดี เปรียบเสมือนแม่ปูซึ่งยังเดินเก้ๆ กัง ๆ อยู่ ก็ไม่สามารถจะสอนลูกปูให้เดินตรงได้
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ในราโชวาทชาดกว่า “ถ้าเมื่อโคทั้งหลายว่ายข้ามแม่น้ำไป
โคหัวหน้าฝูงว่ายคด เมื่อโคผู้นำฝูงว่ายคดอย่างนี้ โคทั้งหมดก็ย่อมว่ายคดไปตามกัน ในมนุษย์
ทั้งหลายก็เหมือนกัน ผู้ใดได้รับสมมติแต่งตั้งให้เป็นใหญ่ถ้าผู้นั้นประพฤติไม่เป็นธรรม ประชาชน
นอกนี้ก็ประพฤติไม่เป็นธรรมโดยแท้ ถ้าพระราชาผู้เป็นใหญ่ไม่ตั้งอยู่ในธรรม รัฐก็ย่อมอยู่เป็น
ทุกข์ทั่วกัน” ด้วยเหตุนี้การสร้างเครือข่ายคนดีจึงต้องเริ่มต้นที่ตนเองคือ ตนเองจะต้องมี
สัมมาทิฏฐิก่อนแล้วจึงจะชักนำผู้อื่นไปในหนทางที่ถูกต้องได้
2) ต้องเห็นประโยชน์ของการคบคนดี คนดีจะดำรงอยู่ในคุณความดีได้ยั่งยืน
และได้รับการพัฒนาให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไปจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีมิตรดีด้วย เพราะมิตรดีหรือ
กัลยาณมิตรจะช่วยชี้แนะสิ่งดีๆ ยิ่ง ๆ ขึ้นไปให้ได้ และยังเป็นต้นแบบที่ดีด้านต่าง ๆ ให้อีกด้วย
บุคคลผู้คบมิตรดีจึงมีแต่เจริญไม่มีเสื่อม แม้แต่คนพาล หากได้มิตรดีก็สามารถเป็นคนดีมี
ปัญญาได้ ดังที่พระนางกีสาโคตรมีเถรีกล่าวถึงพระดำรัสของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า “พระมุนี
ทรงสรรเสริญความเป็นผู้มีกัลยาณมิตร คนเมื่อคบกัลยาณมิตร แม้เป็นพาล ก็จึงเป็นบัณฑิต
ได้บ้าง”?
3) ต้องรู้จักพฤติกรรมของคนพาล การจะแยกแยะคนดีและคนพาลได้นั้นจำเป็นจะ
ต้องรู้จักพฤติกรรมของคนทั้งสองประเภทก่อน สำหรับคนพาลนั้นคือคนที่มีใจขุ่นมัวเป็นปกติ
เป็นผลให้มีความเห็นผิดหรือมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือค่านิยมผิด ๆ และมีวินิจฉัยเสีย คนพาลมี
พฤติกรรมอย่างน้อย 5 ประการดังต่อไปนี้
3.1) คนพาลชอบชักนำในทางที่ผิด เช่น ชักชวนไปลักขโมย เป็นต้น
3.2) คนพาลชอบทำในสิ่งที่ไม่ใช่ธุระ การงานของตนเองไม่ทำแต่ไปก้าวก่าย
งานของผู้อื่น กลั่นแกล้งผู้ร่วมงาน เป็นต้น
1
ขุททกนิกาย ชาดก, มก. เล่ม 58 ข้อ 634-635 หน้า 606.
ขุททกนิกาย เถรีคาถา, มก. เล่ม 54 ข้อ 646 หน้า 300.
3 พระมหาสมชาย ฐานวุฑโฒ, มงคลชีวิต ฉบับทางก้าวหน้า, 2548, หน้า 15-16.
บทที่ 3 เศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ หลักการสร้างฐานะเพื่อความสุข... DOU 85