ข้อความต้นฉบับในหน้า
1) เราจะอดทนต่อการกระทบกระทั่งกับคนพาลด้วยวิธีการอย่างไรปฏิบัติจริงได้แค่ไหน
ได้นานเท่าไหร่ ?
2) เราจะอดทนต่อความเย้ายวนของอบายมุขที่มีปากทางสนุกแต่บั้นปลายฉิบหาย
ด้วยวิธีการอย่างไร ปฏิบัติจริงได้แค่ไหน ได้นานเท่าไหร่ ?
3) เราจะคุ้มครองหมู่ญาติพี่น้อง มิตรสหาย และบริวาร ให้ปลอดภัยจากคนพาล ไม่
ตกเป็นทาสอบายมุขด้วยวิธีการอย่างไร ปฏิบัติจริงได้แค่ไหน ได้นานเท่าไหร่ ?
4) เราจะคุ้มครองทรัพย์สมบัติของเราให้ปลอดภัยจากการข่มเหงรังแกของหมู่คนพาล
ได้นานเท่าไหร่ ด้วยวิธีการอย่างไร ปฏิบัติจริงได้แค่ไหน ?
นี่คือภัยในปัจจุบันที่ต้องมองเห็นให้ชัดเจน เพราะถ้าไม่เห็นภัยตรงนี้ คนดีก็จะต่างคน
ต่างอยู่กันต่อไป แล้วก็ปล่อยให้คนพาลรวมตัวกันเป็นเครือข่ายโค่นล้มคนดีไปทีละคนๆ
ผลสุดท้ายวันหนึ่งภัยจากคนพาลเหล่านั้น ก็ต้องมีอันตรายมาถึงตัวเราอย่างแน่นอน
อุปมาเหมือนต้นไม้ใหญ่ ถึงจะสร้างลำต้นกิ่งใบได้อุดมสมบูรณ์แค่ไหน แต่เมื่อเติบโตอยู่
เพียงลำพัง ก็ยากจะต้านทานลมพายุร้ายไว้ได้ ต้องถูกแรงลมพัดโค่นล้มลงอย่างเดียวดายแน่นอน
ผิดกลับหมู่ไม้ที่ขึ้นเป็นดงหนาแน่น ไม่เติบโตอยู่เพียงลำพัง แม้ถูกพายุร้ายโหมกระหน่ำรุนแรง
เพียงไหน ย่อมต้านทานลมพายุได้ด้วยกำลังหมู่ไม้ที่เป็นญาติสนิท มิตรสหาย และบริวารของตน
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเห็นภัยเหล่านี้ล่วงหน้าตั้งแต่ครั้งยังเป็นพระโพธิสัตว์
พระองค์จึงทรงขยันสร้างเครือข่ายคนดีและขยันพัฒนาท้องถิ่นให้เหมาะแก่การทำความดีทุก
รูปแบบขึ้นมานับภพนับชาติไม่ถ้วน พระองค์ทรงไม่ปล่อยให้คนดีมีสภาพต่างคนต่างอยู่ จน
เป็นเหตุให้ศีลธรรมตายสนิทไปจากสังคมเหมือนคนทั่ว ๆ ไป แต่ทรงใช้ทั้งปัญญา ความบริสุทธิ์
กาย วาจา ใจ และน้ำใจกรุณาต่อผู้อื่น รวบรวมหมู่คณะมาร่วมกันพัฒนาท้องถิ่น พัฒนาสังคม
พัฒนาประเทศ พัฒนาโลกให้มีมาตรฐานศีลธรรม เป็นโลกที่มีบรรยากาศที่เหมาะแก่ประพฤติ
ปฏิบัติธรรมมาทุกภพทุกชาติ จนกระทั่งแม้พระองค์ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในชาติ
สุดท้ายแล้ว แต่ยังทรงมุ่งมั่นสั่งสอนชาวโลกให้ทั้งฝึกฝนอบรมตนและร่วมกันพัฒนาสังคมโลก
ให้เหมาะแก่การสร้างความดีต่อไป
ความรู้จริงอันใดที่เป็นหลักธรรมซึ่งเกิดจากประสบการณ์สร้างความดีอย่างถูกต้อง
ซ้ำแล้วซ้ำเล่าอีกมานับภพนับชาติไม่ถ้วนจนกระทั่งกลายเป็นความรู้จริงที่ถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์
แบบแล้ว พระองค์ทรงแนะนำสั่งสอนให้ชาวโลกได้มีความรู้จริงในเรื่องนั้น โดยไม่มีปิดบัง
บทที่ 4 จั ก ร ธรรม หลักการพัฒนาตนเอง และฐานะทางเศรษฐกิจ... DOU 109