ข้อความต้นฉบับในหน้า
แนวคิด
1. เศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ หมายถึง ความรู้ที่ว่าด้วยหลักการและวิธีการแสวงหาทรัพย์
เพื่อเลี้ยงชีพตนเองและผู้อื่นให้มีความสุขในชาตินี้และชาติหน้า โดยไม่สร้างความเดือดร้อนให้
แก่สังคม และยังเป็นการเพิ่มพูนศีลธรรมในตนเองและสังคมให้สูงส่งยิ่งๆ ขึ้นไปด้วย
2. เศรษฐศาสตร์เชิงพุทธแตกต่างจากเศรษฐศาสตร์ของชาวโลก คือ เศรษฐศาสตร์
โดยทั่วไป จะมุ่งสอนอยู่ 3 เรื่องหลัก คือ หาเป็น เก็บเป็น และใช้เป็น แต่สำหรับเศรษฐศาสตร์
เชิงพุทธนั้น มุ่งสอนอยู่ 4 เรื่องหลัก คือ นอกจากจะสอนเรื่องหาเป็น เก็บเป็น ใช้เป็นแล้ว
ยังเน้นสอนเรื่อง “การสร้างเครือข่ายคนดีเป็น” ด้วย
3. เป้าหมายการสร้างตัวสร้างฐานะตามพุทธวิธี
1) เป้าหมายชีวิตในชาตินี้
2) เป้าหมายชีวิตในชาติหน้า
3) เป้าหมายชีวิตขั้นสูงสุด
4. กฎเกณฑ์ประจำโลกนี้ มี 3 ประเภท คือ
1) กฎแห่งกรรม
2) กฎจารีตขนบธรรมเนียมประเพณี
3) กฎหมาย
5. ต้นทุนสำคัญในการสร้างฐานะทางเศรษฐกิจที่สำคัญ ก็คือ นิสัยที่ดี หรือเรียกว่า
คุณสมบัติ ซึ่งคุณสมบัติพื้นฐานของผู้ที่สร้างฐานะได้สำเร็จ มี 4 ประการ ได้แก่
1. สัจจะ คือ นิสัยรับผิดชอบ
2. ทมะ คือ นิสัยรักการฝึกตนเอง
3. ขันติ คือ นิสัยทรหดอดทน
4. จาคะ คือ นิสัยไม่เห็นแก่ตัว
6. สาเหตุที่ทำให้คนเราร่ำรวยเป็นมหาเศรษฐีนั้น เกิดจากสาเหตุ 2 ประการ คือ
1. ความขยันให้ถูกดี ถึงดี พอดีในปัจจุบัน
2. บุญเก่าที่สั่งสมไว้ดีแล้วในอดีตตามมาส่งผล
60 DOU สูตรสำเร็จ ก า ร พั ฒ น า องค์กร และเศรษฐกิจ