บุญเก่าและการสร้างฐานะทางเศรษฐกิจ GB 304 สูตรสำเร็จการพัฒนาองค์กรและเศรษฐกิจ หน้า 78
หน้าที่ 78 / 263

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงผลของบุญเก่าที่ทำในอดีตส่งผลต่อการเจริญก้าวหน้าในชีวิตปัจจุบัน โดยอ้างอิงคำสอนของพระพุทธองค์ที่ระบุว่าการให้ทานด้วยความศรัทธาและเคารพทำให้บุคคลมีความมั่งคั่งและมีชีวิตที่ดีขึ้น นอกจากนี้ยังเสนอวิธีสร้างฐานะทางเศรษฐกิจที่ถูกต้อง โดยรวมถึงการทำงานหนักและการทำทานเพื่อสร้างบุญ ซึ่งมีสี่หลักการสำคัญ ได้แก่ การหาทรัพย์, การเก็บทรัพย์, และการสร้างเครือข่ายคนดี เพื่อสร้างฐานะที่มั่นคงและมีความสุขในชีวิตทั้งปัจจุบันและอนาคต.

หัวข้อประเด็น

-บุญเก่า
-การให้ทาน
-แนวทางเศรษฐกิจพุทธ
-การสร้างฐานะมั่งคั่ง
-การทำงานและสร้างบุญ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

2) บุญเก่าที่ทำไว้ดีแล้วในอดีตตามมาส่งผล บุญเก่า หมายถึง ผลของการสั่งสมความดีมาแต่ภพชาติก่อน ส่งผลให้เราเกิด ความเจริญก้าวหน้าในชาติปัจจุบัน ในเรื่องการส่งผลของบุญเก่านี้ พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ใน “สัปปุริสทานสูตร” ว่า 1. บุคคลได้ให้ทานด้วยความศรัทธา ย่อมทำให้เป็นผู้มั่งคั่ง เป็นผู้มีรูปสวย น่าเลื่อมใส มีผิวพรรณงาม 2. บุคคลได้ให้ทานโดยเคารพ ย่อมทำให้เป็นผู้มั่งคั่ง มีบุตร ภรรยา คนรับใช้ เป็นผู้ที่เชื่อฟังตั้งใจปฏิบัติตาม 3. บุคคลได้ให้ทานโดยกาลอันควร ย่อมทำให้เป็นผู้มั่งคั่ง มีโภคทรัพย์มาก ย่อม เป็นผู้ที่มีความต้องการเกิดขึ้นตามกาลบริบูรณ์ 4. บุคคลได้ให้ทานด้วยจิตอนุเคราะห์ ย่อมทำให้เป็นผู้มั่งคั่ง มีโภคทรัพย์มาก มี จิตน้อมไปเพื่อบริโภคกามคุณ 5 สูง ประณีต) ยิ่งขึ้นไป 5. บุคคลได้ให้ทานโดยไม่กระทบตนและผู้อื่น ย่อมทำให้เป็นผู้มั่งคั่ง มี โภคทรัพย์มาก ไม่มีอันตรายมาแต่ไหนๆ ไม่ว่าจากไฟ จากน้ำ จากพระราชา จากโจร จากคน ไม่เป็นที่รัก หรือจากทายาทจะไม่มาทำลายโภคทรัพย์ได้ เพราะฉะนั้น จากสาเหตุความรวยในปัจจุบันและอดีตที่กล่าวมานี้ เมื่อต้องการสร้าง ฐานะทางเศรษฐกิจของตนให้ร่ำรวยแล้ว จึงมีหลักสำคัญว่า ต้องขยันทำมาหากินและทำทาน สร้างบุญไปพร้อม ๆ กันด้วย เพราะทั้งสองอย่างนี้ย่อมเกื้อกูลกันทั้งในปัจจุบันและอนาคต 3.5 พุทธวิธีสร้างฐานะให้ร่ำรวยในชาตินี้ วิธีสร้างฐานะทางเศรษฐกิจนี้ มีศัพท์ทางศาสนา เรียกว่า “ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ แปลว่า ประโยชน์ในปัจจุบันเป็นวิธีสร้างฐานะที่ถูกต้องชอบธรรม ไม่ก่อกรรมสร้างเวรให้กับใคร และไม่สร้างความเดือดร้อนในภายหลังแต่อย่างใด มี 4 ประการ ดังนี้ 1) อุฏฐานสัมปทา หาทรัพย์เป็น 2) อารักขสัมปทา เก็บทรัพย์เป็น 3) กัลยาณมิตตตา สร้างเครือข่ายคนดีเป็น บทที่ 3 เศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ หลักการสร้างฐานะเพื่อความสุข... DOU 67
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More