ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยชน์ต่อชีวิตนัก แต่ที่อยากได้ ก็เพราะตกอยู่ในอำนาจของความอยากอันเป็นกิเลส
นอกจากแยกแยะได้แล้ว ยังมีสติคอยคุมใจ ไม่ยอมให้ตนเองตกเป็นทาสของความ
อยากอีกด้วย
3.2) “เหมาะสม” คือ สมควรแก่ฐานะ สมควรแก่กาลเทศะ และเพศภาวะของตน
ทั้งในแง่ชนิด คุณภาพ วิธีการได้มา วิธีการใช้ และวัตถุประสงค์ในการใช้งาน
ของบางชนิดหากแสวงหามาโดยไม่คำนึงถึงความเหมาะสม เมื่อได้มาแล้ว นอกจาก
เพิ่มภาระในการดูแลรักษาแล้ว ยังทำให้จิตใจฟุ้งซ่าน และยังขัดต่อความรู้สึกของสังคมและ
เพื่อนฝูงอีกด้วย
3.3) ทำไมการรู้จักประมาณปัจจัย 4 จึงเป็นเหตุให้เกิดความสบาย
เหตุที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าใช้ปัจจัย 4 เป็นเครื่องมือฝึกความพอดีและความเหมาะสม
นั้นก็เพราะว่า
ปัจจัย 4 เป็นเครื่องหล่อเลี้ยงชีวิต
ถ้าขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ชีวิตก็ยากที่จะดำเนินไปโดยราบรื่น เป็นผลเสียต่อสุขภาพกาย
และสุขภาพจิต ถ้ามากเกินไป ก็เป็นที่มาแห่งความเดือดร้อน โรคภัยไข้เจ็บ และเป็นภาวะใน
การดูแลรักษา พระพุทธองค์จึงทรงสอนให้ควบคุมการประมาณในการจัดหาปัจจัย 4 เข้ามา
ใช้สอยตั้งแต่ต้นเพราะการที่ใครคนหนึ่งจะควบคุมกิเลสในใจไม่ให้กำเริบเสิบสานได้ ต้องบริหาร
ปัจจัย 4 พื้นฐานให้ลงตัว แล้วความสบายที่เกิดจากการควบคุมความอยากไว้ได้ก็จะเกิดขึ้น
ตามลำดับ ซึ่งเป็นพื้นฐานที่ทำให้เกิดความก้าวหน้าในการทำความดีอื่นๆ ต่อไป
ปัจจัย 4 เป็นบ่อเกิดนิสัย
ชีวิตคนเรานั้นที่ทุกข์ก็เพราะตามใจกิเลสจนเคยตัว การควบคุมกิเลสให้อยู่มือ ก็ต้อง
ฝึกควบคุมใจ และจุดเริ่มต้นของการควบคุมใจ ก็คือ ฝึกประมาณในการใช้สอยปัจจัย 4 เพราะ
เมื่อฝึกอย่างนี้แล้ว ใจย่อมละเอียดอ่อน ไม่ว่าจะหยิบจะจับทำสิ่งใด ย่อมพอดีลงตัวไปหมด นิสัย
มีเหตุมีผล ไม่เอาแต่ใจตัวเองย่อมเกิดขึ้นมา ในที่สุด ย่อมเป็นผู้ควบคุมใจของตนเองได้ดี
ความสุขย่อมเกิดขึ้นตามลำดับ เหมือนดั่งพุทธพจน์ที่ว่า จิตที่ฝึกดีแล้ว ย่อมนำสุขมาให้ นั่นเอง
การรู้ประมาณปัจจัย 4 ทำให้เกิดปัญญา
เนื่องจากฝึกความพอดีและความเหมาะสมในการใช้ปัจจัย 4 มามาก ทำให้มีสติรู้
เท่าทันในแต่ละวาระจิต มีปัญญามองทะลุสรรพสิ่งต่าง ๆ ตามความเป็นจริง เมื่อมีสติปัญญา
บทที่ 4 จั ก ร ธ ร ร ม ห ลั ก การพัฒนาตนเอง และฐานะทางเศรษฐกิจ... DOU 117