ข้อความต้นฉบับในหน้า
ต้องอดอยาก
1.3) ถูกหลักโภชนาการ คือ มีคุณค่าทางอาหารครบหลัก 5 หมู่ ได้แก่ โปรตีน
คาร์โบไฮเดรต ไขมัน เกลือแร่ วิตามิน
1.4) สะอาด คือ ไม่บูด ไม่เน่า ไม่เสีย ไม่เจือปนด้วยสารพิษ หรือไม่เก็บของสดค้าง
ไว้หลายวัน แล้วจึงค่อยนำมาทำอาหาร
1.5) รสอร่อย คือ รสชาติที่ถูกใจ ข้อนี้ถือเป็นของแถม เพราะแต่ละคนก็มีความชอบ
ในรสชาติไม่เหมือนกัน วิธีแก้ง่ายๆ ก็คือมีพริกน้ำปลาไว้หนึ่งถ้วย ใครชอบรสไหนก็ปรุงรสชาติ
ในจานอาหารของตนเองตามใจชอบ
อาหารเป็นหนึ่งในปัจจัย 4 ที่จำเป็นต่อการเลี้ยงชีวิตให้ผ่านไปในแต่ละวัน การมี
อาหารเป็นที่สบายย่อมแสดงว่าเป็นผู้มีเศรษฐกิจดีไม่ต้องอดมื้อกินมื้อ หรืออยู่อย่างอัตคัดขัดสน
การมีอาหารรับประทานในแต่ละวันจึงมีอิทธิพลต่อการเกิดความรู้สึกนึกคิดทั้งในทางดีและ
ไม่ดีของคนเราอย่างมาก
2) วัตถุประสงค์การใช้ปัจจัย 4
อย่างไรก็ตาม คำว่า “อาหารเป็นที่สบาย” ในหัวข้อนี้ ในทางปฏิบัติแล้ว ไม่ได้จำเพาะ
เจาะจงที่อาหารเท่านั้น แต่หมายรวมปัจจัย 4 ทั้งหมด ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย
ยารักษาโรค เพราะทั้ง 4 ประการนี้เป็นเครื่องหล่อเลี้ยงชีวิตขั้นต่ำสุด ในการบริโภคใช้สอยนั้น
หากสิ่งใดสิ่งหนึ่งขาดหรือน้อยเกินไปก็ตาม มากเกินไปก็ตาม หรือคุณภาพของสิ่งที่ใช้ดีเกินไป
หรือน้อยเกินไปก็ตาม ย่อมมีผลกระทบต่อสุขภาพ ชีวิตการทำงาน และฐานะทางสังคม
เป็นต้น
นอกจากนี้ปัจจัย 4 ยังหมายรวมถึง สิ่งของเครื่องใช้อื่น ๆ ที่เนื่องด้วยปัจจัย 4 เช่น
1. สิ่งของที่เนื่องด้วยเครื่องนุ่งห่ม เช่น เครื่องนอน ผ้าห่ม เข็ม ด้าย เป็นต้น
2. สิ่งของที่เนื่องด้วยอาหาร เช่น ภาชนะ ถ้วย ชาม ช้อน เป็นต้น
3. สิ่งของที่เนื่องด้วยเสนาสนะ เช่น ตู้ โต๊ะ เตียง ตั่ง เก้าอี้ เป็นต้น
4. สิ่งของที่เนื่องด้วยยารักษาโรค เช่น เครื่องมือปรุงยา อุปกรณ์การแพทย์ การพยาบาล
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนให้รู้จักวิธีใช้ปัจจัย 4 อย่างถูกวัตถุประสงค์ ทั้งนี้เพื่อให้
ชาวพุทธมีมาตรฐานความสบายที่แท้จริง ไม่ฟุ่มเฟือยเกินความจำเป็น อันจะเป็นกระทบต่อ
เศรษฐกิจและสร้างมลภาวะเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม
บทที่ 4 จั ก ร ธ ร ร ม ห ลั ก การพัฒนาตนเอง และฐานะทางเศรษฐกิจ... DOU 115