วิธีการสร้างอริยทรัพย์เพื่อป้องกันความเสื่อม GB 304 สูตรสำเร็จการพัฒนาองค์กรและเศรษฐกิจ หน้า 200
หน้าที่ 200 / 263

สรุปเนื้อหา

การสร้างอริยทรัพย์ในตัวช่วยป้องกันความเสื่อมทั้งในโลกนี้และโลกหน้า เน้นการตั้งคำถามกับครูเมื่อมีปัญหา ปฏิบัติตามคำสั่งของครูอย่างครบถ้วน และฝึกฝนตนเองเพื่อเป้าหมายที่ปลอดภัย อริยทรัพย์ประกอบด้วย 7 ประการที่สำคัญ เช่น ความศรัทธาที่มีพื้นฐานจากปัญญา และการเชื่อในกรรม เพื่อสร้างความมั่นคงในชีวิตของตนเองและหมู่คณะ.

หัวข้อประเด็น

- การสร้างอริยทรัพย์
- ความสำคัญของคำครู
- วิธีการป้องกันความเสื่อม
- ศรัทธาและกรรม
- การฝึกฝนตนเอง

ข้อความต้นฉบับในหน้า

รวมทั้งเมื่อมีปัญหาอะไรต้องรีบถามทันทีไม่ปล่อยผ่าน เพราะเราอาจะไม่มีโอกาสได้กลับมา ถามท่านอีกก็ได้ 3. ตรองคำท่านให้ลึก คือ นำแต่ละประเด็น ที่ครูอธิบายแล้วอธิบายอีก หรือที่ครู คอยย้ำเป็นประจำมาพิจารณา ให้เข้าใจในแง่ของเหตุและผล รวมทั้งความสำคัญในการใช้งาน ข้อควรระวังต่างๆ ในการลงมือปฏิบัติรวมทั้งผลได้ผลเสียที่จะตามมาหลังจากได้ลงมือปฏิบัติแล้ว 4. ปฏิบัติตามคำท่านให้ครบ คือ หลังจากที่พิจารณาคำครูอย่างละเอียดถี่ถ้วนจน เข้าใจดีแล้ว ว่าที่ถูกต้องและเหมาะสมเป็นอย่างไร แล้วจึงลงมือปฏิบัติ อย่างมีสติรอบคอบ ระมัดระวัง ไม่ประมาทจนอาจนำไปสู่ความความเสียหาย หรือ ล้มเหลวตามมาได้ ถ้ามีปัญญา สงสัยอย่างไรในการปฏิบัติให้ถามครูทันทีไม่ปล่อยผ่านเพราะถ้าเราไม่แน่ใจแล้วลงมือทำไป แล้วถ้าเกิดความผิดพลาดอาจส่งผลเสียตามมาภายหลังได้ คนที่จะมีความรู้ความสามารถและความดีได้อย่างเต็มที่นั้นต้องอาศัยวิธีการดังนี้เท่านั้น ในการฝึกฝนตนเอง เพื่อให้ไปสู่เป้าหมายได้อย่างปลอดภัย และการที่จะยอมรับใครสักคนมาเป็นครูได้นั้นต้องอาศัย ใจที่ยอมรับ รวมทั้งฝืนกิเลส ในตัว ข่มความอวดดื้อถือดีในตัว และในที่สุดก็ต้องข่มใจ เพราะหากเราต้องการจะแก้สิ่งที่ไม่ดี ออกไปจากตัวของเราแล้วสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ เราต้องเปลี่ยนนิสัยของเราให้ได้นั่นเอง 5.6 วิธีการสร้างอริยทรัพย์ให้เกิดขึ้นในตนเพื่อป้องกันความเสื่อมทั้งใน โลกนี้และโลกหน้า การป้องกันความเสื่อมที่จะเกิดขึ้นทั้งในโลกนี้และโลกหน้าได้นั้น เราต้องอาศัยการ สร้างอริยทรัพย์ให้เกิดขึ้นในตัวของเราด้วย เพื่อเป็นหลักประกันที่มั่นคงไม่ให้ความเสื่อม เกิดขึ้นอีก ทั้งต่อตัวเอง ทรัพย์ และหมู่คณะ ไม่ว่าจะเป็นในโลกนี้หรือโลกหน้า อริยทรัพย์ คือทรัพย์อันประเสริฐ ถ้ามีอยู่ในบุคคลใดแล้วจะห่างไกลจากความเสื่อม ทั้งต่อตนเอง ทรัพย์สมบัติ และหมู่คณะ มีอยู่ 7 ประการด้วยกัน คือ 1) ศรัทธา คือ ความเชื่อที่ประกอบไปด้วยปัญญา เชื่ออย่างมีสติพิจารณาว่า สิ่งใด ควรเชื่อสิ่งใดไม่ควรเชื่อ ศรัทธาขั้นพื้นฐานมีอยู่ 4 ประการ คือ ไม่ว่างเปล่า 1. เชื่อกรรม เชื่อว่ากรรมมีอยู่จริง ถ้าทำอะไรแล้วย่อมมีผลไม่สูญหาย การกระทำ บทที่ 5 ต้นเหตุ แ ห่ ง ค ว า ม วิ บั ติ ข อ ง ค วามเจริญรุ่งเรือง DOU 189
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More