การส่งผลของบุญกับสภาพจิตก่อนตาย GB 304 สูตรสำเร็จการพัฒนาองค์กรและเศรษฐกิจ หน้า 104
หน้าที่ 104 / 263

สรุปเนื้อหา

บทความนี้มีการชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของสภาพจิตก่อนตายซึ่งมีผลต่อการเกิดในสุคติภูมิหรืออบายภูมิ โดยกล่าวว่าเมื่อจิตมีความผ่องใสและไม่เศร้าหมองจะนำไปสู่สุคติ และการสั่งสมบุญเป็นวิธีหนึ่งในการสร้างจิตผ่องใส เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีก่อนตาย นอกจากนี้ยังได้แนะนำวิธีการมีศีลและความสำคัญของการรักษาศีล 5 เพื่อเป็นการรับประกันว่าสามารถกลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีกครั้งหรือตั้งอยู่ในสวรรค์ได้ การมีต้นแบบในการรักษาศีลจากผู้ที่ปฏิบัติดี เช่น พระภิกษุและสามเณร ก็เป็นสิ่งที่สนับสนุนการปฏิบัติถูกต้องได้อีกด้วย.

หัวข้อประเด็น

-สภาพจิตก่อนตาย
-ผลของบุญ
-การรักษาศีล
-ศีล 5
-การเป็นต้นแบบในชีวิต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

9) ต้องรู้ถึงการส่งผลของบุญกับสภาพจิตก่อนตาย สภาพจิตก่อนตาย คือสิ่งที่ตัดสินว่าเราจะไปสู่สุคติภูมิหรืออบายภูมิ เพราะว่า เมื่อจิตเศร้าหมองไม่ผ่องใส ย่อมมีทุคติเป็นที่ไป เมื่อจิตผ่องใสไม่เศร้าหมอง ย่อมมีสุคติเป็นที่ไป เมื่อเราสั่งสมบุญบ่อย ๆ สั่งสมบุญจนติดเป็นนิสัยแล้วผลของบุญก็จะทำให้เรามีจิต ผ่องใสอยู่ตลอดเวลา แม้กำลังจะละโลกก็องอาจสง่างามและจากไปด้วยจิตใจที่ผ่องใสตลอดเวลา เป็นหลักประกันว่า เราย่อมไปสู่สุคติในสัมปรายภพอย่างแน่นอน 3.12 ทําอย่างไรจึง “มีศีล” การเป็นคนมีศีลมีวิธีการดังต่อไปนี้ 1) ต้องรู้ความสำคัญของการรักษาศีล โดยสามัญสำนึก คนเราโดยทั่วไปย่อมมีศีล 5 เป็นศีลประจำใจ โดยปกติ กล่าวได้ว่า ศีล 5 คือคุณสมบัติขั้นต่ำสุดของมนุษย์ หรือ มนุษยธรรม เป็นความดีงามขั้นพื้นฐานที่แสดงความ เป็นผู้มีใจประเสริฐ ดังนั้น ผู้ใดแม้จะมีร่างกายเป็นมนุษย์ แต่ถ้าขาดศีล 5 ก็ไม่ชื่อว่าเป็นมนุษย์ เพราะขาดความดีหรือคุณสมบัติของมนุษย์นั่นเอง พระพุทธองค์ตรัสว่า ศีลทำให้ไปสู่สุคติ หมายความว่า เมื่อรักษาศีล 5 ได้เป็นปกติก็ เป็นหลักประกันได้ว่าเมื่อละโลกไปแล้ว ย่อมสามารถกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ได้อีก หรือ สามารถ ส่งผลให้เกิดในสวรรค์ได้ด้วย 2) ต้องมีต้นแบบในการรักษาศีล ต้องรู้จักแสวงหาบุคคลที่มีศีลเป็นปกติมาเป็นต้นแบบในการปฏิบัติ ได้แก่ พระภิกษุ สามเณรที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เพราะท่านเป็นผู้เห็นภัยในเพศฆราวาส จึงได้ออกบวชและรับ เอาศีลที่พระพุทธองค์บัญญัติไว้มาปฏิบัติ ถึง 227 ข้อ ส่วนสามเณรมีศีล 10 ข้อ จะเห็นได้ว่า พระภิกษุสามเณร ท่านมีศีลมากแต่ก็ยังสามารถปฏิบัติได้ หรือคบหากับฆราวาสผู้ประพฤติธรรมเป็นปกติ ผู้ดำเนินชีวิตอย่างไม่ผิดศีลธรรม ไม่ว่า จะสร้างตัวสร้างฐานะอย่างไรก็ไม่ยอมทำบาปกรรมโดยมองหาส่วนดีที่เขาได้ประพฤติปฏิบัติ แล้วนำมาเป็นตัวอย่างในการประพฤติปฏิบัติตาม บทที่ 3 เศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ หลักการสร้างฐานะเพื่อความสุข... DOU 93
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More