ข้อความต้นฉบับในหน้า
2) คนจนเข็ญใจยากไร้ย่อมกู้หนี้ แม้การกู้หนี้ก็เป็นทุกข์ในโลก
3) ครั้นกู้หนี้แล้วก็ย่อมต้องใช้ดอกเบี้ย แม้การต้องไปใช้ดอกเบี้ย ก็เป็นทุกข์ในโลก
4) คนจนเข็ญใจยากไร้ครั้นใช้ดอกเบี้ยแล้ว ไม่ให้ดอกเบี้ยตามกำหนดเวลา พวกเจ้าหนี้
ย่อมตามทวงเขา แม้การถูกตามก็เป็นทุกข์ในโลก
5) คนจนเข็ญใจยากได้เมื่อถูกเจ้าหนี้ทวง แล้วยังไม่มีให้ พวกเจ้าหนี้ก็เลยติดตาม
แม้การถูกติดตามก็เป็นทุกข์ในโลก
6) คนจนเข็ญใจยากไร้ถูกเจ้าหนี้ติดตามทัน ยังไม่ทันจะให้ พวกเจ้าหน้าที่ก็จับเขามา
จองจำเสียแล้ว แม้การถูกจองจำก็เป็นทุกข์ในโลก
สรุปว่า พระพุทธองค์ทรงห้ามชาวพุทธจนอย่างเด็ดขาด เพราะทรงเข้าใจสภาพ
ความทุกข์ยากลำบากของคนจนชนิดที่เรียกว่า “ผ่าหัวใจคนจน” ออกมาตีแผ่ให้ทุกคนเห็นกัน
อย่างชัดเจนและทั่วถึง
การที่พระองค์ทรงทำเช่นนี้ เพราะทรงต้องการเตือนสติให้ชาวพุทธทั้งหลายไม่
ประมาท” ในการดำเนินชีวิต คือ
1) ต้องกลัวความยากจน
2) ต้องตั้งใจกำจัดความยากจนอย่างถูกวิธี
3) ต้องป้องกันความยากจนข้ามภพข้ามชาติ
เพราะฉะนั้น เมื่อชาวพุทธมีสติระลึกนึกถึงอันตรายของความยากจนอย่างนี้แล้ว จะได้
ไม่ประมาท เอาแต่ขยันหาทรัพย์อย่างเดียว แต่ตระหนี่ไม่สร้างบุญ ซึ่งผิดหลักวิชาที่พระองค์
ทรงสอนไว้ เพราะที่ถูกต้อง คือ “ต้องสร้างตัวสร้างฐานะเป็นจนกระทั่งรวยทรัพย์ และขยัน
ทำบุญเป็น จนกระทั่งบรรลุธรรม” ใครก็ตามที่ดำเนินตามหลักวิชานี้ย่อมได้หลักประกันว่า นับแต่
นี้ไป ตราบใดยังต้องเวียนว่ายตายเกิด ถือกำเนิดในวัฏสงสาร แม้ยังไม่อาจกำจัดกิเลส จนกระทั่ง
บรรลุธรรมเข้าพระนิพพาน แต่ก็จะไม่ตกระกำลำบาก ไม่ต้องพบกับความยากจนอีกต่อไป
อย่างแน่นอน
1.3.2 ความยากจนบีบคั้นให้มนุษย์ทำกรรมชั่วได้ง่าย
ชีวิตอยู่ได้ด้วยการใช้ปัจจัย 4 หล่อเลี้ยงชีวิต แต่เพราะความยากจนจึงทำให้มีชีวิต
12 DOU สูตรสำเร็จ การพัฒนาองค์กร และเศรษฐกิจ
มีชีวิตลำเค็ญ