ข้อความต้นฉบับในหน้า
นอกจากนี้การเก็บเป็นยังรวมไปถึงการใช้ของอย่างถนอม รู้จักรักษาให้ข้าวของมีอายุ
การใช้งานที่ยาวนานอีกด้วย อีกทั้งของหายก็ต้องหาของเสียก็ต้องซ่อม ไม่อย่างนั้นก็จนไปทั้งชาติ
ความสำคัญของข้อนี้ ก็คือ การจะตั้งตัวตั้งฐานะได้หรือไม่ได้ อยู่ที่การเก็บทรัพย์เป็น
ไม่ได้อยู่ที่การหาทรัพย์ เพราะว่าแม้จะหาทรัพย์มาได้มากเป็นหมื่นเป็นแสนเป็นล้าน แต่หาก
เก็บทรัพย์ไม่เป็น ได้แต่นำออกมาใช้จ่ายอย่างเมามัน เงินหมื่นเงินแสนเงินล้านนั้นก็หมดไปได้
เหมือนกัน
การเก็บทรัพย์เป็นนั้น ต้องไม่หมิ่นเงินน้อย โดยต้องระลึกอยู่เสมอว่า “เงินหนึ่งล้านบาท
ก็เริ่มต้นจากเงินหนึ่งบาท” ทรัพย์ที่เก็บไปวันละเล็กละน้อย นานวันเข้าก็จะเพิ่มพูนขึ้นเอง
เหมือนอย่างกับปลวกก่อรัง ก็เริ่มต้นจากดินก้อนเล็ก ๆ ที่ปลวกช่วยกันคาบมาก่อขึ้นเป็น
จอมปลวก ดังนั้น หากต้องการสร้างฐานะทางเศรษฐกิจได้สำเร็จ ก็ต้องเก็บรักษาทรัพย์ไว้ให้เป็น
3.5.3 กัลยาณมิตตตา
กัลยาณมิตตตา แปลว่า ถึงพร้อมด้วยความเป็นผู้มีมิตรดี
กัลยาณมิตตตา หมายถึง การสร้างเครือข่ายคนดีเป็น
หากรักจะยืนหยัดอยู่ในโลกกว้างอย่างมั่นคงแล้ว ก่อนอื่นต้องสร้างธาตุแห่งความเป็น
คนดีขึ้นมาในตัวก่อน แล้วจึงสร้างเครือข่ายคนดีขึ้นมา เป็นวงจรตามลำดับ
การสร้างเครือข่ายคนดีมี 3 ขั้นตอนด้วยกัน คือ
ขั้นที่ 1 รู้จักวางตัวให้เหมาะสม เช่น พิจารณาให้ดีว่า ขณะนั้นตัวเราอยู่ในสังคมใด
อยู่ในฐานะใด มีตำแหน่งหรือบทบาทหน้าที่อะไร เช่น ถ้าเป็นพ่อก็ต้องวางตัวให้สมกับที่เป็นพ่อ
เป็นเพื่อนก็วางตัวให้สมกับที่เป็นเพื่อน
ขั้นที่ 2 ซึมซับเอาศีลธรรมมาจากคนดีที่อยู่รอบตัวเราในสังคมนั้นๆ โดยการหมั่น
เข้าไปสนทนา ซักถาม หมั่นคอยสังเกตผู้ที่ถึงพร้อมด้วยคุณความดีเหล่านี้ เพื่อจะได้ซึมซับและ
ถ่ายทอดเอาความรู้ ความดีจากบุคคลเหล่านั้นมาสู่ตัวเรา
ขั้นที่ 3 ถ่ายทอดความรู้และความดีของเราไปสู่ผู้อื่นที่อยู่แวดล้อมรอบด้าน
เมื่อเรากำลังสร้างฐานะทางเศรษฐกิจ ต้องรู้จักเลือกทำงานกับคนที่มีความซื่อสัตย์
สุจริตเท่านั้น เพราะมิตรดีเท่านั้น จึงจะช่วยกันสร้างความเจริญให้แก่กันและกันได้อย่างยั่งยืน
และที่สำคัญต้องขยายเครือข่ายความเป็นกัลยาณมิตรออกไปให้กว้างขวางมากที่สุด เพราะ
บทที่ 3 เศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ หลักการสร้างฐานะเพื่อความสุข... DOU 69