ความสำคัญของวาจาสะอาดในชีวิตประจำวัน GB 304 สูตรสำเร็จการพัฒนาองค์กรและเศรษฐกิจ หน้า 154
หน้าที่ 154 / 263

สรุปเนื้อหา

บทความนี้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการใช้วาจาสะอาดในชีวิตประจำวัน โดยเน้นความสำคัญของการพูดความจริง การหลีกเลี่ยงการส่อเสียด การใช้คำสุภาพ และการพูดอย่างมีสาระ เพื่อสร้างบรรยากาศที่สงบสุขในสังคม เสนอให้ทุกคนเข้าใจศิลปะการพูดและความสำคัญของการใช้คำพูดที่ช่วยส่งเสริมความสามัคคีและช่วยลดความขัดแย้งในกลุ่ม ประการสำคัญคือการเลือกใช้คำพูดที่มีประโยชน์และมีคุณค่าในสถานการณ์ต่างๆ

หัวข้อประเด็น

-วาจาสะอาด
-การพูดความจริง
-การพูดสุภาพ
-การสื่อสารที่สร้างสรรค์
-พัฒนาตนเอง

ข้อความต้นฉบับในหน้า

- ไม่ยอมพูดเท็จเพราะเหตุแห่งคนอื่น คือรักเขาอยากให้เขาได้ประโยชน์จึงโกหก หรือเพราะเกลียดเขา อยากให้เขาเสียประโยชน์จึงโกหก จึงโกหก - ไม่ยอมพูดเท็จเพราะเห็นแก่อามิสสินบน เช่น อยากได้ทรัพย์สินเงินทองสิ่งของ เจตนารมณ์ของความสะอาดวาจาในข้อนี้ คือต้องการให้ทุกคนมีความสัตย์จริง กล้า เผชิญหน้ากับความจริงเยี่ยงสุภาพชน ไม่หนีปัญหา หรือหาประโยชน์ใส่ตัวด้วยการพูดเท็จ 2.2) เว้นจากการพูดส่อเสียด คือ พูดสมานไมตรีกัน ไม่เก็บความข้างนี้ไปบอก ข้างโน้น หรือเก็บความข้างโน้นมาบอกข้างนี้ ด้วยเจตนาจะยุแหย่ให้เขาแตกกัน ควรกล่าวแต่ ถ้อยคำอันแสดงคุณค่าของความสามัคคี เจตนารมณ์ของความสะอาดวาจาข้อนี้ คือต้องการไม่ให้คนเราหาความชอบด้วยการ ประจบสอพลอ ไม่เป็นบ่างช่างยุ ต้องการให้หมู่คณะสงบสุขสามัคคี 2.3) เว้นจากการพูดคำหยาบ คือ พูดคำสุภาพ ไม่พูดคำซึ่งทำให้คนฟังเกิดความ ระคายใจ ครูดหู และส่อว่าผู้พูดเองเป็นคนมีสกุลต่ำ ได้แก่ พูดเผ็ดร้อน แทงหัวใจ พูดกดใจต่ำ พูดกระแทกแดกดัน พูดเปรียบเปรยให้เจ็บใจเมื่อได้คิด พูดกระแทกกระทั้น คําด่า คําประชด = = คํากระทบ = คําแดกดัน = คําสบถ คําหยาบโลน = พูดแช่งชักหักกระดูก = พูดคำที่สังคมรังเกียจ คําอาฆาต = พูดให้หวาดกลัวจะถูกทำร้าย เจตนารมณ์ของวาจาสะอาดข้อนี้ ต้องการให้ทุกคนพูดให้สุภาพ รู้จักสำรวมวาจา ของตน ไม่ก่อความระคายใจแก่ผู้อื่นด้วยคำพูด 2.4) ไม่พูดเพ้อเจ้อ คือ พูดแต่ถ้อยคำที่มีประโยชน์ ไม่พูดเหลวไหล ไม่พูดพล่อยๆ สักแต่ว่ามีปากอยากพูดก็พูดไปหาสาระมิได้ พูดแต่ถ้อยคำที่ควรฝังไว้ในใจ มีหลักฐานอ้างอิง ถูกกาลเวลา มีประโยชน์ ของตน เจตนารมณ์ของวาจาสะอาดข้อนี้ คือต้องการให้ทุกคนมีความรับผิดชอบต่อถ้อยคำ บทที่ 4 จั ก ร ธรรม หลักการพัฒนาตนเอง และฐานะทางเศรษฐกิจ... DOU 143
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More