คุณสมบัติของผู้ชนะตามพุทธวิธี GB 304 สูตรสำเร็จการพัฒนาองค์กรและเศรษฐกิจ หน้า 43
หน้าที่ 43 / 263

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับคุณสมบัติของสัจจะ แบ่งเป็น 5 ประการ ได้แก่ สัจจะต่อความดี หน้าที่ การงาน วาจา และบุคคล ด้านทมะ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท เพื่อการควบคุมจิตใจ ขันติหมายถึงอดทน มี 4 ลักษณะในการรับมือกับความลำบากและทุกขเวทนา สุดท้าย จาคะเกี่ยวกับการเสียสละ สิ่งของ ความสะดวกสบาย และอารมณ์ที่ไม่ดี วัตถุประสงค์หลักเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจความสำคัญของคุณธรรมในการดำเนินชีวิตและผลของการปฏิบัติตนอย่างถูกวิธี เพื่อการสร้างตัวอย่างมีคุณค่า.

หัวข้อประเด็น

- คุณสมบัติของสัจจะ
- ประเภทของทมะ
- ลักษณะของขันติ
- จาคะและการเสียสละ
- วัตถุประสงค์ในการศึกษาคุณธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

1. สัจจะ แปลว่า จริง ตรง แท้ ลักษณะของสัจจะ มีด้วยกัน 5 ประการ คือ ประการที่ 1 สัจจะต่อความดี ประการที่ 2 สัจจะต่อหน้าที่ ประการที่ 3 สัจจะต่อการงาน ประการที่ 4 สัจจะต่อวาจา ประการที่ 5 สัจจะต่อบุคคล 2. ทมะ แปลว่า ฝึกตน ข่มจิต และรักษาใจ ทมะ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ 1. ทันต่อกิเลส 2. ทันคน 3. ทันโลก 4. ทันธรรมชาติ 3. ขันติ แปลว่า อดทน ขันติ มีอยู่ 4 ลักษณะ คือ 1. อดทนต่อความลำบากตรากตรำา 2. อดทนต่อความทุกขเวทนา 3. อดทนต่อความเจ็บใจ 4. อดทนต่ออำานาจกิเลส 4. จาคะ แปลว่า เสียสละ จาคะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 1. การสละสิ่งของ 2. การสละความสะดวกสบาย 3. การสละอารมณ์ที่บูดเน่า วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้นักศึกษาสามารถอธิบายคุณสมบัติของผู้ชนะจน-เจ็บ-โง่ได้ 2. เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจถูกในเรื่องการดำเนินชีวิตของผู้ครองเรือนตาม พุทธวิธี 3. เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจถูกในเรื่องการสร้างตัวให้มีฆราวาสธรรม 4. เพื่อให้นักศึกษาสามารถอธิบายอานิสงส์ของการสร้างตัวอย่างถูกวิธีได้ 5. เพื่อให้นักศึกษาสามารถอธิบายโทษของการไม่สร้างตัวอย่างถูกวิธีได้ 32 DOU สูตรสำเร็จ การพัฒนาองค์กร และเศรษฐกิจ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More