ความสำคัญของสิ่งแวดล้อมในการพัฒนา GB 304 สูตรสำเร็จการพัฒนาองค์กรและเศรษฐกิจ หน้า 125
หน้าที่ 125 / 263

สรุปเนื้อหา

การพัฒนาเศรษฐกิจและศีลธรรมเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมในการอยู่อาศัย เช่น แสงสว่างที่เพียงพอ ความปลอดภัยจากอันตรายต่างๆ เสียงที่ไม่รบกวนและความสะดวกในการหาอาหาร การมีสิ่งแวดล้อมที่ดีสามารถช่วยให้ผู้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและเติบโตเหมือนต้นโพธิ์ที่เติบโตในที่ธรรมชาติ นอกจากนี้ยังมีมาตรการในการประเมินความมีอาหารที่พอเพียงและทันเวลาสำหรับการเลี้ยงสมาชิกในครอบครัว

หัวข้อประเด็น

-ความสำคัญของแสงสว่าง
-ความปลอดภัยในสิ่งแวดล้อม
-คุณภาพเสียงที่เหมาะสม
-อาหารและการเข้าถึงอาหาร
-การเติบโตของผู้คนในสิ่งแวดล้อมที่ดี

ข้อความต้นฉบับในหน้า

2.2) มีแสงสว่างเหมาะสม ในเวลากลางวันมีแสงสว่างพอเพียง ไม่มืดทึบ เวลา กลางคืนมีแสงไฟฟ้าส่องให้เห็นทั่วถึง 2.3) มีความปลอดภัย ปลอดภัยจากคนพาล ปลอดภัยจากสัตว์ร้าย ปลอดภัยจาก ธรรมชาติ เช่น โจรผู้ร้าย สัตว์ร้าย ลมพายุ ไฟไหม้ น้ำท่วม เป็นต้น 3) ความสงบ 3.1) มีความเป็นระเบียบ สิ่งของเครื่องใช้ที่จัดเป็นระเบียบเรียบร้อยจะช่วยสะกด ผู้คนให้มีวินัย มีความเคารพสถานที่ มีความระมัดระวังตัว ไม่กล้าทำให้เกิดความเสียระเบียบ 3.2) มีคุณภาพเสียงที่พอเหมาะ ความดังของมลภาวะทางเสียงภายนอก ไม่เข้าไป รบกวนการอยู่อาศัยและการทำงานในอาคาร หรือความดังของเสียงในอาคารไม่ดังออกมา สร้าง ความรำคาญภายนอก ดังนั้น ความเจริญของคนเรานั้น นอกจากอาศัยความรักดีในตนเองแล้ว ยังต้องอาศัย สิ่งแวดล้อมช่วยด้วย อุปมาเหมือนเมล็ดพันธุ์ต้นโพธิ์ถึงแม้จะงอกงามใหญ่โตได้แค่ไหน แต่เมื่อ นำไปปลูกในกระถางแล้ว ก็เป็นเพียงไม้แคระแกรนต้นหนึ่งอยู่ในกระถางเท่านั้น ไม่สามารถจะ เติบโตได้เหมือนกับต้นโพธิ์ที่ขึ้นอยู่ตามธรรมชาติ นี่คืออิทธิพลของสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการ พัฒนาเศรษฐกิจและศีลธรรมให้ก้าวไปด้วยกันประการที่หนึ่ง “อาวาสเป็นที่สบาย” 2. อาหารเป็นที่สบาย อาหารเป็นที่สบาย หมายถึง บริเวณที่ตนอยู่อาศัยนั้นที่สามารถหาอาหารได้สะดวก เป็นแหล่งผลิตอาหาร หรือเป็นแหล่งทรัพยากรอาหารที่อุดมสมบูรณ์พอสมควร เช่น อยู่ใกล้ตลาด หรือบริเวณที่มีการทำเกษตรกรรม สามารถผลิตอาหารเองได้ เป็นต้น 1) มาตรวัดความมีอาหารเป็นที่สบาย เมื่อถึงเวลารับประทานอาหาร สถานที่แห่งนั้นต้องมีวิธีการจัดหาอาหารที่ประกอบ ด้วยคุณสมบัติ 5 ประการ คือ 1.1) ทันเวลา คือ เมื่อถึงเวลาอาหารก็ได้รับประทานตรงเวลา ไม่เลยเวลาอาหาร เพราะน้ำย่อยที่ออกมาตามเวลาจะย่อยเยื่อบุกระเพาะ เป็นเหตุให้เกิดโรคกระเพาะทะลุ หรือ กระเพาะอักเสบ 1.2 ) ปริมาณพอเพียง คือ พอเพียงต่อการเลี้ยงสมาชิกทุกคนอย่างทั่วถึง ไม่มีใคร 114 DOU สูตรสำเร็จ การพัฒนาองค์กร และเศรษฐกิจ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More