อริยมรรคมีองค์ 8 และการหลุดพ้นจากทุกข์ GB 304 สูตรสำเร็จการพัฒนาองค์กรและเศรษฐกิจ หน้า 172
หน้าที่ 172 / 263

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้กล่าวถึงความสำคัญของการเห็นและรู้ชัดในสิ่งทั้งหลาย เพื่อที่จะบรรลุธรรมและหลุดพ้นจากกิเลสตามที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนไว้ โดยเฉพาะเกี่ยวกับการปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ 8 ที่เฉลยถึงการพัฒนาแบบลึกซึ้งจากความเข้าใจไปสู่การเห็นชอบ ความคิดชอบ การพูดชอบ การกระทำชอบ และการเลี้ยงชีพชอบ ซึ่งเป็นหนทางในการกำจัดความทุกข์และความไม่รู้.

หัวข้อประเด็น

-การหลุดพ้นจากทุกข์
-พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
-อริยมรรคมีองค์ 8
-การพัฒนาตนเอง
-ความไม่รู้

ข้อความต้นฉบับในหน้า

เมื่อทรงเห็นก็ทรงรู้ จิตก็หลุดพ้นจากอำนาจกิเลส เกิดญาณหยั่งรู้ สรรพสิ่งทั้งหลาย ตามความเป็นจริงบรรลุธรรมเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบรมครูของสัตวโลก สมดังที่ตั้งจิต อธิษฐานไว้ พระองค์ทรงเห็นและรู้ชัดว่า กิจที่แท้จริงในการเกิดมาเป็นมนุษย์ มีเพียงอย่างเดียว เท่านั้น คือ กำจัดความทุกข์ และความไม่รู้ให้หมดสิ้นไป ซึ่งทรงได้กระทำแล้ว จึงไม่มีกิจอื่นใด ที่จะต้องทรงกระทำอีกนั่นคือ กิจอื่นทั้งหลายที่ทรงเคยทำมาตลอดภพชาติอันยาวนานนับไม่ถ้วน ขณะเวียนว่ายในสังสารวัฏนั้น หาใช่กิจที่แท้จริงในการเกิดมาเป็นมนุษย์ไม่ บัดนี้ภพชาติของพระองค์ได้สิ้นสุดแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทรงกระทำไม่มีอีกแล้ว ความ ทุกข์ของพระองค์จึงหมดไปโดยเด็ดขาด และความไม่รู้ก็หมดไปโดยสิ้นเชิงด้วย 6) อริยมรรคมีองค์ 8 เบื้องสูง เมื่อเข้าถึง “ธรรม (The Known Factor)” แล้ว อริยมรรคมีองค์ 8 เบื้องต้น ก็ยกระดับ เป็นเบื้องสูง คือ 1. สัมมาทิฏฐิ ซึ่งแต่เดิมเป็นเพียงเข้าใจถูก จึงพัฒนาเป็น เห็นชอบ ได้แก่ ทั้งรู้ ทั้ง เห็น อริยสัจ 4 รู้ - เห็น กุศลมูล, อกุศลมูล (รากเหง้าความดี ความชั่ว), ไตรลักษณ์ (สามัญ ลักษณะ) โดยสมบูรณ์ ถูกต้องตามเป็นจริง 2. สัมมาสังกัปปะ แต่เดิมเป็นเพียง คิดถูก จึงพัฒนาเป็น ดำริชอบ ได้แก่ มีความ คิดฝังใจ โดยชอบที่จะตรึก คิดในลักษณะปลอดจากกาม ปลอดจากพยาบาท และปลอดจาก การเบียดเบียนเท่านั้น 3. สัมมาวาจา แต่เดิมเป็นเพียง พูดถูก คือ ระมัดระวังที่จะไม่พูดวจีทุจริต 4 จึง พัฒนาเป็นเจรจาชอบ คือ หวงแหนคำพูด พูดเฉพาะวจีสุจริต 4 เป็นปกติ เท่านั้น 4. สัมมากัมมันตะ แต่เดิมเป็นเพียง ทำถูก คือ ระมัดระวังที่จะไม่ทำกายทุจริต 3 จึง พัฒนาเป็น กระทำชอบ คือ การกระทำทางกายทุกอย่าง ตั้งอยู่บนกายสุจริต 3 เป็นปกติเท่านั้น 5. สัมมาอาชีวะ แต่เดิมเป็นเพียง เลี้ยงชีพถูก คือ ระมัดระวังที่จะไม่ประกอบ มิจฉาชีพ จึงพัฒนาเป็นเลี้ยงชีพชอบ คือ เว้นมิจฉาชีพโดยเด็ดขาด ประกอบแต่สัมมาชีพเป็น ปกติเท่านั้น 6. สัมมาวายามะ แต่เดิมเป็นเพียง พยายามถูก คือ พยายามระวังอย่าให้ความชั่ว เกิดขึ้นใหม่ในตัว ความชั่วใดที่เกิดขึ้นและติดเป็นนิสัยแล้ว ก็เพียรละเสีย ส่วนความดีใดที่ยังไม่ บทที่ 4 จั ก ร ธ ร ร ม ห ลั ก การพัฒนาตนเอง และฐานะทางเศรษฐกิจ... DOU 161
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More