ปัญญาบารมีและการพัฒนาจิตใจ GB 304 สูตรสำเร็จการพัฒนาองค์กรและเศรษฐกิจ หน้า 198
หน้าที่ 198 / 263

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงปัญญาบารมีและการพัฒนาจิตใจเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างชีวิตที่มีคุณค่า โดยการสั่งสมความรู้ ความเพียร ความอดทน และความเมตตา ถือเป็นการสร้างความดีและกำจัดอวิชชาออกจากใจ นอกจากนี้ยังเสนอให้มีความตั้งใจมั่นในการทำความดี แม้ว่าจะประสบอุปสรรคใด ๆ ก็ตาม การสร้างความเข้มแข็งทางจิตใจและความสามารถในการวางใจให้เป็นกลางคือกุญแจสู่การเจริญรุ่งเรืองในชีวิต โดยการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอและไม่ยอมแพ้ต่อความยากลำบาก ศึกษาเรียนรู้จากผู้มีประสบการณ์และนำความรู้ไปปฏิบัติอย่างจริงจังจะนำไปสู่ความสำเร็จในชีวิตอย่างยั่งยืน

หัวข้อประเด็น

-ปัญญาบารมี
-การพัฒนาตนเอง
-ความเพียรพยายาม
-การสร้างความดี
-ความอดทน
-ความแน่วแน่ในการทำความดี
-เมตตาและการเห็นอกเห็นใจ
-การรักษาความเป็นกลางในจิตใจ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

4. ปัญญาบารมี คือ เป็นการแสวงหาความรู้เพื่อทำลายอวิชชา คือความไม่รู้ออกไป จากใจของบุคคลนั้น เริ่มต้นจากการแสวงหาความรู้จากผู้มีความรู้ต่างๆ โดยไม่เกี่ยงว่าคนคน นั้นจะเป็นใครมาจากไหน ขอให้มีความรู้จริงในสิ่งที่เราต้องการจะศึกษา แล้วลงมือศึกษา ฝึกฝน ตนเองอย่างสุดความสามารถ แล้วนำความรู้ที่ได้รับมานั้นมาพิจารณาไตร่ตรอง ทดลองด้วย ตนเอง และสุดท้ายก็คือ การเจริญสมาธิภาวนา โดยเอาชีวิตเป็นเดิมพันเพื่อขจัดความไม่รู้ ออกไปจากใจของเราอย่างสิ้นเชิง 5. วิริยบารมี คือ ความเพียรพยายามในการสร้างความดีทุกรูปแบบ และมีความกล้า ที่จะเปลี่ยนแปลงตนเอง ในการแก้ไขปรับปรุงตัวละเว้นความไม่ดีที่เคยทำมาแล้ว และกล้าคิด กล้าทำสิ่งที่จะสามารถฝึกฝนตนเองในการสร้างความดีทวนกระแสโลก อย่างเอาชีวิตเป็นเดิมพัน 6. ขันติบารมี คือ การสร้างความอดทนทางร่างกาย เพื่อควบคุมสติไว้ให้ประพฤติใน ทางที่ชอบ และอดทนทางจิตใจต่อสิ่งเย้ายวนต่างๆ เพื่อไม่ให้ตกอยู่ภายใต้อำนาจกิเลส เป็น ความอดทนที่จะชำระกิเลสในตัว ไม่หวั่นไหวโลกธรรม 8 คือ มีลาภ เสื่อมลาภ มียศ เสื่อมยศ สรรเสริญ นินทา โดยยังสามารถรักษาใจให้เป็นปกติ ไม่ปล่อยตัวเองไปตามอำนาจกิเลส 7. สัจจบารมี คือ ความจริง จริงต่อทุกสิ่งทุกอย่างที่เราต้องเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย ถ้าจะ ทำอะไรแล้วต้องทำให้สุดฝีมือ ไม่เป็นคนโลเล เป็นคนที่พูดอย่างไหนทำอย่างนั้น และทำอย่าง ไหนก็พูดอย่างนั้น รวมทั้งมีความตั้งใจมั่น ที่จะไม่ออกนอกเส้นทางการสร้างความดี โดยเอา ชีวิตเป็นเดิมพัน ไม่หวั่นไหวในอุปสรรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น 8. อธิษฐานบารมี คือการตั้งจิตมั่นในการวางแผน แล้วทำให้ได้ตามแผนที่วางเอาไว้ โดยตัดสินใจอย่างเด็ดเดี่ยวไม่ว่าจะทำอะไรก็ตาม ต้องทำอย่างเต็มที่ให้สำเร็จให้ได้ ในการ ทำความดีแม้ว่าจะต้องพบกับอุปสรรคมากน้อยเพียงใดก็ตาม ต้องไม่หวั่นไหว ต้องทำให้สำเร็จ โดยไม่มีข้อแม้เงื่อนไขใด ๆ ทั้งสิ้น แม้ว่าจะต้องเอาชีวิตเป็นเดิมพันก็ตาม 9. เมตตาบารมี คือ การตั้งจิตเมตตาต่อทุกคนโดยไม่เลือกที่รักมักที่ชัง มีความ ปรารถนาดีต่อทุกๆ คน และสุดยอดของความเมตตาก็คือถ้าเห็นใครทำอะไรไม่ถูกต้อง ทำใน สิ่งที่ไม่ถูกไม่ควร ทำให้เกิดความเสียหาย ทั้งต่อตนเองหรือบุคคลอื่น ก็กล้าที่จะเข้าไปตักเตือน ด้วยจิตเมตตาปรารถนาดี แม้รู้ว่าเขาจะโกรธที่ถูกตักเตือนก็ตาม 10. อุเบกขาบารมี คือ การวางใจให้เป็นกลาง สงบ เป็นการฝึกตัวไม่ให้เกิดความลำเอียง ทั้งไม่ลำเอียงเข้าข้างตนเอง และไม่ลำเอียงเข้าข้างคนอื่น ไม่มีความยินดียินร้ายด้วยความชอบ หรือความชัง ให้ความเสมอหน้ากัน และไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ยังรักษาใจให้เป็นปกติอยู่ได้ บทที่ 5 ต้นเหตุ แ ห่ ง ค ว า ม วิ บั ติ ข อ ง ความเจริญรุ่งเรือง DOU 187
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More