ปัญญาและการทำภาวนาในทางธรรม GB 304 สูตรสำเร็จการพัฒนาองค์กรและเศรษฐกิจ หน้า 111
หน้าที่ 111 / 263

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงความสำคัญของปัญญาในทางธรรมที่เกิดจากการทำภาวนา โดยเฉพาะการทำสมาธิซึ่งช่วยให้มีสติและรู้เห็นสิ่งต่างๆ อย่างชัดเจน เนื้อหายังอธิบายถึงประโยชน์ของการทำภาวนา เช่น การมีสุขภาพจิตที่ดี ความสามารถในการคิดและแยกแยะสิ่งที่มีประโยชน์ และการพัฒนาบุคลิกภาพ ขณะเดียวกันก็กล่าวถึงโทษของการไม่ทำภาวนา เช่น สุขภาพจิตไม่สมบูรณ์ และการขาดความสามารถในการควบคุมอารมณ์ ซึ่งทั้งหมดนี้ส่งผลต่อการพัฒนาองค์รวมของคนและสังคมในที่สุด สรุปถือว่าการทำภาวนาเป็นสิ่งสำคัญเพื่อการพัฒนาตนเองอย่างเต็มที่

หัวข้อประเด็น

-ความสำคัญของการทำภาวนา
-ประโยชน์ของสมาธิ
-โทษของการไม่ทำภาวนา
-ความสัมพันธ์ระหว่างกิเลสและปัญญา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ทางโลก ส่วนปัญญาที่สมบูรณ์นั้นต้องมีปัญญาในทางธรรมด้วย ปัญญาในทางธรรมนั้นเกิดจาก การทำภาวนา ซึ่งเป็นปัญญาขั้นสูง จะเกิดจากการทำ สมาธิภาวนา จากใจหยุดใจนิ่งเท่านั้น เพราะการทำสมาธิภาวนาจะทำให้เรามีสติ และรู้เห็น สิ่งต่างๆ ไปตามความเป็นจริง ไม่มีกิเลสตัวใดมาบดบังปัญญาที่เกิดจากการทำภาวนาได้ และ ยิ่งถ้าเราทำสมาธิอย่างสม่ำเสมอ เราก็จะยิ่งมีสติ และมีใจที่มีพลังที่สามารถเอาชนะอำนาจ กิเลสในตัวได้ จนสามารถกำจัดกิเลสได้หมดเป็นพระอรหันต์ในที่สุด 6) ประโยชน์ของการทำภาวนา 1. ย่อมมีสุขภาพจิตที่ดี คุณภาพของใจดีขึ้น 2. ส่งเสริมสมรรถภาพของใจ ทำให้คิดอ่านได้รวดเร็ว 3. ทำให้สามารถแยกแยะได้ว่าสิ่งใดมีประโยชน์สิ่งใดไม่มีประโยชน์ 4. ทำให้เป็นผู้มีบุคลิกภาพดี สง่าผ่าเผยองอาจในทุกสถานที่ 5. ช่วยให้วางตัวได้เหมาะสมกับกาลเทศะ 6. ช่วยคลายเครียด 7. ส่งเสริมประสิทธิภาพในการศึกษาเล่าเรียน หรือการทำงาน 8. ทำให้เป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ เชื่อในกฎแห่งกรรม 9. ทำให้เป็นผู้มีความมักน้อย สงบ และมีความสันโดษ 10. สามารถรักษาปัญญาที่มีอยู่แล้วไว้ได้ 11. ย่อมมีปัญญาเจริญงอกงามยิ่ง ๆ ขึ้นไป 12. สามารถกำจัดกิเลสในตัว จนกระทั่งหมดกิเลสเป็นพระอรหันต์ 7) โทษของการไม่ทำภาวนา 1. สุขภาพจิตย่อมไม่สมบูรณ์ 2. คิดอ่านอะไรก็เชื่องช้า สมรรถภาพของใจทำงานได้ไม่เต็มความสามารถ 3. ไม่สามารถแยกแยะได้ว่าสิ่งใดมีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์ 4. เป็นผู้ไม่องอาจท่ามกลางชุมชน 5. ขาดความมั่นคงทางอารมณ์ 6. เมื่อเกิดปัญหาย่อมหาทางออกที่เหมาะสมไม่ได้ 7. มักถูกชักชวนไปทำความชั่วได้ง่าย 8. เป็นคนมักโกรธ ไม่รู้จักการควบคุมอารมณ์ 100 DOU สูตรสำเร็จ การพัฒนาองค์กร และเศรษฐกิจ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More