สัจจะแห่งสังคมและหน้าที่ GB 304 สูตรสำเร็จการพัฒนาองค์กรและเศรษฐกิจ หน้า 55
หน้าที่ 55 / 263

สรุปเนื้อหา

ในชีวิตของคนเราไม่ว่าจะเป็นฆราวาสหรือผู้ที่มีหน้าที่ในสังคม การทำงานและความรับผิดชอบต่อหน้าที่เป็นสิ่งสำคัญ ที่สำคัญคือการมีความจริงใจในสิ่งที่ทำ และสามารถนำไปสู่ความสำเร็จในชีวิต การเป็นสามี ภรรยา ลูก หรือแม้แต่ทหาร ตำรวจ ล้วนมีหน้าที่และการงานที่ต้องทำให้เต็มที่ หากไม่มีความจริงจังจะทำให้เกิดปัญหาอย่างมากในสังคม และเพื่อให้เกิดผลดีจึงควรมีความเคร่งครัดในหน้าที่ของตน นอกจากนี้การรักษาความดีและไม่ปล่อยให้มีการทำงานที่เหลาะแหละ หรือค้างคาเป็นสิ่งที่สำคัญเพื่อให้สังคมเจริญรุ่งเรืองต่อไป เว็บ dmc.tv เป็นแหล่งข้อมูลสำคัญสำหรับการศึกษาและการพัฒนาความรู้เกี่ยวกับหัวข้อเหล่านี้

หัวข้อประเด็น

-ความรับผิดชอบในชีวิตประจำวัน
-สัจจะต่อหน้าที่
-การทำงานที่จริงจัง
-ความสำคัญของการเลี้ยงดูครอบครัว
-ปัญหาที่เกิดจากการขาดความรับผิดชอบ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

สืบทอดพระพุทธศาสนา หากเป็นฆราวาส ก็ต้องทำมาหากินตั้งตนให้ได้ สร้างหลักฐานให้กับ วงศ์ตระกูล ใครจะอยู่ในหน้าที่อะไรก็ต้องพยายามหาดีของตนให้ได้ หากหาดีนอกทางเสียแล้ว ก็จะเสียความจริงต่อความดี ประการที่ 2 สัจจะต่อหน้าที่ คือ การที่ใครก็ตามที่เกิดมาย่อมมีหน้าที่ติดตัวมาด้วยกันทั้งนั้น ดังนั้น จึงควรมีความ รับผิดชอบต่อหน้าที่ของตน ใครเป็นสามีก็รับผิดชอบต่อหน้าที่สามี เลี้ยงครอบครัวให้ดี ไม่ปันใจให้หญิงอื่น จริงใจกับภรรยา ใครเป็นภรรยาก็จริงใจต่อหน้าที่ของภรรยา ดูแลการงาน ในบ้านให้เรียบร้อย ไม่เที่ยวเตร่ ไม่เล่นการพนันเผาผลาญทรัพย์ เป็นลูกก็ต้องมีความรับผิดชอบว่า เราเป็นลูกมีหน้าที่รักษาวงศ์ตระกูลให้ดี ถ้าพ่อแม่ แก่เฒ่า ก็ต้องเลี้ยงดูท่าน เป็นทหารก็จริงใจลงไปในหน้าที่ทหาร เป็นตำรวจก็รับผิดชอบต่อหน้าที่ของตำรวจ ไม่ว่าใครจะเป็นอะไรก็ทุ่มไปกับหน้าที่ของตัวให้เต็มที่ หากทำเช่นนี้ได้จึงเรียกว่ามีความ รับผิดชอบต่อหน้าที่ ประการที่ 3 สัจจะต่อการงาน สัจจะต่อการงาน ก็คือการตั้งสัจจะลงไปในงาน หมายถึงการทำงานนั้นต้องทำจริง ไม่ทำเหยาะๆ แหยะๆ หรือทำเล่นๆ ดังนั้นเมื่อมีหน้าที่แล้วก็ย่อมมีงานตามมาสามีก็มีงานของสามี คืองานหาเลี้ยงครอบครัว เป็นภรรยาก็มีงานของภรรยา เป็นลูกก็มีงานของลูก เป็นพระก็มีงานของพระ จะเป็นอะไรก็มี หน้าที่และมีงานตามมา ยิ่งอายุมาก หน้าที่ก็ยิ่งมากเป็นเงาตามตัว เมื่อหน้าที่มาก งานก็มาก ด้วยเช่นกัน คนที่ไม่จริงต่อการงาน มีอยู่ 3 ประเภทด้วยกัน คือ 1. พวก “ทุจจริต” คือ พวกที่ทำงานเสีย 2. พวก “สิถิล” คือ พวกที่ทำงานเหลาะแหละ 3. พวก “อากุล” คือ พวกที่ทำงานคั่งค้าง หากทำอย่างนี้จะเสียสัจจะต่อการงาน วิธีแก้ก็คือ ทำให้ดี ทำให้เคร่งครัด ทำให้เสร็จสิ้น 44 DOU สูตรสำเร็จ การพัฒนาองค์กร และเศรษฐกิจ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More