ข้อความต้นฉบับในหน้า
..
แนวคิด
1. สิ่งแวดล้อมไม่ดี สร้างความดีไม่ยั่งยืน
การกำจัดกิเลสในใจตัวเองและทวนกระแสกิเลสของคนทั้งโลกนั้น มิใช่ของง่าย การทำ
ตามลำพังย่อมเป็นงานหนักที่จะทำได้สำเร็จ จำเป็นต้องได้อาศัยในท้องถิ่นที่เหมาะสมแก่การ
ทำความดี อีกทั้งยังต้องมีเครือข่ายคนดีที่มีเป้าหมายชีวิตขั้นสูงสุดเหมือนๆ กันอยู่ร่วมด้วย จึง
จะมีกำลังใจในการพัฒนาตนเองและฐานะให้เจริญก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไป และในเวลาเดียวกัน ย่อม
เป็นการป้องกันไม่ให้ตนเองไถลลงข้างทางไปตามกระแสเชี่ยวกรากของกิเลสเสียก่อน
เพราะ
การอยู่ร่วมกับหมู่คณะที่มีเป้าหมายชีวิตสูงสุดเหมือนกัน ย่อมทำให้ควบคุมกิเลสไว้ได้ สร้าง
ความดีได้ง่าย รักษาความดีได้ง่าย เพิ่มพูนความดีได้ง่าย และสามารถประพฤติปฏิบัติธรรมได้
อย่างเต็มที่ จึงมีโอกาสก้าวหน้าในการบรรลุธรรม
2. จักรธรรม หมายถึง ความดี 4 ประการ อันเป็นประดุจวงล้อที่ขับเคลื่อนชีวิตให้
ทำความดีสวนกระแสกิเลสได้อย่างเต็มที่ และเป็นอุปการะให้ไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองทั้งทาง
โลกและทางธรรมอย่างยั่งยืน
3. องค์ประกอบของจักรธรรม
1) ปฏิรูปเทสวาสะ แปลว่า การอยู่ในถิ่นที่เหมาะ
2) สัปปุริสปัสสยะ แปลว่า การผูกไมตรีกับอริยชน
3) อัตตสัมมาปณิธิ แปลว่า สมบูรณ์พร้อมด้วยการตั้งตนไว้ชอบ
4) ปุพเพกตปุญญตา แปลว่า ได้ทำความดีไว้ก่อนแล้ว
4. จุดมุ่งหมายของการพัฒนาตนเองและฐานะทางเศรษฐกิจด้วยจักรธรรม
1) เพื่อพัฒนาตนเองและฐานะทางเศรษฐกิจให้มีความเจริญก้าวหน้าทั้งทางโลก
และทางธรรมอย่างยั่งยืน
2) เพื่อช่วยเหลือคนดีให้สามารถทำมาหาเลี้ยงชีพอย่างสุจริตได้เต็มที่จนกระทั่ง
สามารถสร้างตัวสร้างฐานะทางเศรษฐกิจให้เจริญก้าวหน้าทั้งทางโลกและทางธรรมได้สำเร็จ
เช่นเดียวกับตน
3) เพื่อสร้างเครือข่ายคนดีไว้ช่วยกันปกป้องคุ้มครองชีวิตตนเอง ครอบครัว ญาติ
พี่น้อง มิตรสหาย บริวาร และคนดีทั้งหลายให้ปลอดภัยจากคนภัยคนพาลทั้งหลาย
106 DOU สูตรสำเร็จ การพัฒนาองค์กร และเศรษฐกิจ