ข้อความต้นฉบับในหน้า
1) คุณสมบัติของท้องถิ่นที่มีธรรมะเป็นที่สบาย
มีอย่างน้อย 3 ประการ คือ
1.1) มีการปกครองด้วยธรรมะ
1.2) มีการศึกษาธรรมะ
1.3) มีการเผยแผ่ธรรมะ
1.1) มีการปกครองด้วยธรรมะ หมายถึง บ้านหลังนั้น หน่วยงานนั้น ท้องถิ่นนั้นมี
ผู้นำที่เป็นคนดีมีศีลธรรม ใช้ธรรมะเป็นหลักในการปกครอง และมีวิธีการปกครองโดยไม่ผิด
ศีลธรรม ดังนี้
1.1.1) มีความไม่อคติ 4 เป็นหลักการปกครอง
คำว่า “อคติ” แปลว่า ไม่ตรง หรือ ลำเอียง
อคติ หมายถึง การกระทำอันเป็นเหตุให้ผู้ไม่ควรได้รับประโยชน์กลับได้รับ ผู้ควรได้
รับกลับไม่ได้รับ หรือผู้ควรได้รับมากกลับได้รับน้อย ส่วนผู้ที่ควรได้รับน้อยกลับได้รับมาก
อคติ มี 4 ประเภท ได้แก่ ลำเอียงเพราะรัก, ลำเอียงเพราะชัง, ลำเอียงเพราะเขลา,
ลำเอียงเพราะกลัว
ลำเอียงเพราะรัก (ฉันทาคติ) คือ ความลำเอียงอันเกิดจากความรักใคร่ชอบพอเป็น
พิเศษระหว่างบุคคล จึงเป็นเหตุให้ประพฤติไม่เป็นธรรม ไม่ถูกต้องเหมาะสม เช่น ให้ผลประโยชน์
แก่ผู้ไม่ควรได้รับประโยชน์เพราะเห็นแก่ความเป็นญาติ เป็นเพื่อนสนิท เป็นคนโปรดของตน
เป็นคนเคยให้สิ่งของแก่ตน เป็นต้น เป็นที่มาของการคอรัปชั่นในสังคมทุกระดับ
ลำเอียงเพราะชัง (โทสาคติ) คือ ความลำเอียงอันเกิดจากอำนาจความโกรธเคือง
ความอาฆาตผูกเวรกัน จึงเป็นเหตุให้ประพฤติไม่เป็นธรรม ไม่ถูกต้องเหมาะสม เช่น ไม่ให้ผล
ประโยชน์แก่ผู้ควรได้รับประโยชน์ หรือทำให้ผู้ควรได้ประโยชน์ต้องเสียประโยชน์เพราะผูกโกรธ
ที่บุคคลนั้นชอบขัดใจ ชอบทำให้เสียหน้า หรือเรียกสินบนแล้วเขาไม่ยอมจ่ายให้แก่ตน จึงไม่ตั้ง
อยู่ในความเที่ยงธรรม เป็นที่มาของการกลั่นแกล้งกันในสังคม
ลำเอียงเพราะเขลา (โมหาคติ) คือ ความลำเอียงอันเกิดจากความโง่เขลาเบาปัญญา
ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือความใจแคบ ทำให้บุคคลประพฤติในสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ยิ่งถ้าความ
โง่เขลาเข้าไปผสมกับความลำเอียงอีก 3 ประเภท ก็ยิ่งทำให้ดีกรีความไม่เป็นธรรมเพิ่มมากขึ้น
120 DOU สูตรสำเร็จ การพัฒนาองค์กร และเศรษฐกิจ