ข้อความต้นฉบับในหน้า
หากทำได้ก็จะกลายเป็นสัจจะต่อการงาน
อีกประการหนึ่งเรามักได้ยินคำพังเพยว่า “เรือล่มเมื่อจอด” คำนี้ใช้กับผู้ที่เคยทำดีมาแล้ว
แต่ประมาทเมื่อปลายมือ เพราะไม่ตั้งใจทำให้ดีที่สุดหรือทำสักแต่ว่าทำ เพราะฉะนั้นเมื่อทำความ
ดีแล้ว ต้องทำให้ดีพร้อม จนใครๆ ก็ทำให้ดีกว่านี้ไม่ได้อีกแล้ว คือ ต้องทำงานชิ้นนั้นให้สำเร็จให้ได้
และให้ดีที่สุด นี่คือความรับผิดชอบของคนที่มีสัจจะต่อการงาน
ประการที่ 4 สัจจะต่อวาจา
สัจจะต่อวาจา คือ จริงต่อวาจา นั่นก็คือคำพูดของเราเอง ไม่ว่าจะเป็นการพูดด้วยปาก
หรือการเขียน ตลอดจนการแสดงอาการที่เป็นการปฏิญาณต่อผู้อื่นก็ตาม จัดอยู่ในเรื่องของ
วาจาได้
สัจจะต่อวาจามีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท คือ
1. พูดอย่างไรทำอย่างนั้น คือ เมื่อพูดออกไปแล้วก็ต้องพยายามทำให้ได้จริงตามที่พูด
2. ทำอย่างไรพูดอย่างนั้น คือ การพูดคำจริง เมื่อเราทำอะไรลงไปก็พูดไปตามนั้น การ
กระทำต้องตรงกับคำพูดของตัวเองเสมอ
ประการที่ 5 สัจจะต่อบุคคล
สัจจะต่อบุคคล คือ ต้องจริงต่อบุคคล ในที่นี้คือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับตัวเรา
จริงต่อบุคคลนั้น หมายถึง การเป็นผู้ที่ประพฤติต่อคนอื่นอย่างสม่ำเสมอ ไม่กลับกลอก
และความจริงต่อบุคคลจะเกิดขึ้นได้นั้น ต้องอาศัยความจริงใจต่อกัน ถ้าเราอยากให้คนอื่นเขา
จริงใจต่อเรา เราก็ต้องให้ความจริงกับเขาด้วย
คนเรามักชอบบ่นว่า “ ผมน่ะไม่มีเพื่อนจริงสักคน” ความจริงแล้ว ตัวเองต่างหากที่ไม่จริง
กับเขาก่อน แล้วเขาจะมาจริงใจกับเราได้อย่างไร เวลาคบกับใครก็บอกเขาว่า
“ มีธุระเดือดร้อนอะไรละก็ บอกนะ จะช่วยเต็มที่
"
แต่พอเขาจะมาพึ่งพาให้ช่วยเหลือ กลับบิดพลิ้ว สารพัดจะหาเหตุผลมาอ้าง มาแก้ตัว
อย่างนี้ก็ไม่มีใครเขาจริงใจด้วย
ขอฝากเป็นข้อคิดไว้ คือ ถ้ารักจะคบเป็นเพื่อนกันตลอดไป อย่าเล่นแชร์เล่นไพ่กับเพื่อน
เพราะสองอย่างนี้พอเล่นจะเอาผลประโยชน์กัน แล้วจะมีความจริงใจต่อกันได้อย่างไร เพื่อนกัน
บทที่ 2 ฆราวาสธรรม คุณสมบัติของผู้ชนะความจน - ความเจ็บ - ความโง่ DOU 45