จาคะและปัญญาในการสร้างฐานะเพื่อความสุข GB 304 สูตรสำเร็จการพัฒนาองค์กรและเศรษฐกิจ หน้า 84
หน้าที่ 84 / 263

สรุปเนื้อหา

การเข้าหาคนที่มีศีลมีคุณธรรมเพื่อพัฒนาตนเองและถ่ายทอดความรู้ เป็นการสร้างเครือข่ายคนดี จาคะคือการสละทรัพย์เพื่อประโยชน์ผู้อื่น และเข้าใจถึงกฎแห่งกรรม ทำให้สามารถเตรียมตัวสำหรับชีวิตในภพถัดไป ส่วนปัญญาคือความรอบรู้ที่ทำให้เข้าใจความจริงของชีวิต ช่วยในการกำจัดกิเลสเพื่อพ้นทุกข์ จึงเป็นเครื่องมือสร้างความสุข และวิสัยทัศน์เพื่อการพัฒนาตนเองในอนาคต โดยการสร้างนิสัยแบ่งปันเพื่อคงความดีในสังคม.

หัวข้อประเด็น

-จาคะ
-ปัญญา
-การสร้างฐานะ
-ศีลธรรม
-การแบ่งปัน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

อีกประการหนึ่งต้องหมั่นเข้าหาคนที่มีศีลมีคุณธรรมเพื่อขอรับการถ่ายทอดความ เพื่อเป็นการพัฒนาตนเองแล้วนำความรู้คุณธรรมที่ตนได้ประพฤติปฏิบัติ รู้คุณธรรมจากท่าน ตามได้ ไปถ่ายทอดกับญาติมิตร พวกพ้อง บริวาร เป็นการสร้างเครือข่ายคนดีไปในตัวเท่ากับ เป็นการใช้ทรัพย์สินเงินทองไปในการสร้างคนดีให้กับสังคม 3.6.3 จาคะ จาคะ แปลว่า สละออก จาคะ หมายถึง การรู้จักสละทรัพย์ของตนเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้อื่น จาคะมีความสำคัญ คือ เป็นการรักษาทรัพย์ข้ามชาติ คนที่จะเข้าใจได้เช่นนี้ ต้องเป็น ผู้ที่มีศรัทธา มีศีลมาก่อน แล้วได้ใช้ปัญญาของตนตรองคำสอนของพระพุทธองค์ ก็ได้ปัญญารู้ว่า การเก็บทรัพย์ที่ดีที่สุด โดยที่ภัยใด ๆ ก็มาทำลายไม่ได้ โจรก็ลักขโมยไม่ได้ พระราชาก็รีบไป ไม่ได้ ไฟไหม้ไม่ได้ น้ำท่วมก็ไม่ได้ ลูกหลานเกเรก็มาแย่งเอาไปไม่ได้ มีเพียงวิธีเดียวคือ การ เปลี่ยนโลกียทรัพย์ ทรัพย์หยาบ ให้เป็นอริยทรัพย์ ทรัพย์ละเอียด ด้วยการทำให้เป็นบุญติดตัว ข้ามภพข้ามชาติ อีกประการหนึ่ง จาคะยังเป็นการให้ความช่วยเหลือคนให้กลับมามีโอกาสสร้างตัว สร้างฐานะได้ เป็นการสร้างนิสัยของการแบ่งปัน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ สังคมแห่งความดี คนที่มีจาคะจึงเป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์มองการไกล ข้ามภพข้ามชาติ รู้จักเตรียมความ พร้อมสำหรับชีวิต เพราะมีความเข้าใจในเรื่องกฎแห่งกรรม ว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว รู้ว่าเมื่อยัง ไม่หมดกิเลสก็ต้องกลับมาเกิดอีก จึงได้เตรียมเสบียงชีวิตไว้ล่วงหน้า เมื่อมาเกิดอีกจึงมีความ พร้อมมากกว่าคนที่ไม่มีจาคะ ไม่ได้สั่งสมบุญ 3.6.4 ปัญญา ปัญญา แปลว่า ความรอบรู้ ปัญญา หมายถึง การมองเห็นความจริงของโลกและชีวิตอย่างถูกต้องเป็นจริงว่า ชีวิต เป็นทุกข์ มีความไม่เที่ยง และไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง ต้องกำจัดกิเลสให้หมดไปจึงจะพ้นทุกข์ได้ ปัญญาเป็นเครื่องมือกำจัดกิเลสในใจตนและทำให้ทวนกระแสกิเลสของคนทั้งโลกได้ เป็นความรู้ชัดว่าความทุกข์ที่ตนเองมีอยู่นั้น เกิดจากอำนาจของกิเลสที่ห่อหุ้ม เอิบอาบ ซึมซาบ สอดแทรกอยู่ในใจตลอดเวลา กิเลสเป็นตัวการคอยบังคับให้คนไปกระทำความผิด ความชั่ว บทที่ 3 เศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ หลักการสร้างฐานะเพื่อความสุข... DOU 73
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More